Loading…

เภสัชมหิดลเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศ.ศ.ภ.ท. พร้อมลงนาม MOU สนับสนุนความร่วมมือการฝึกงานด้านวิจัยยาทางคลินิก

255 ครั้ง   27 ตุลาคม 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 27 ตุลาคม 2566 เวลา 09:00 น. รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สมหญิง พุ่มทอง ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) และ อาจารย์ ดร.ภญ.เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี ในฐานะผู้ช่วยเลขาธิการ ศ.ศ.ภ.ท. เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการอำนวยการ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ครั้งที่ 9/2566 ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 401 อาคารวิจัยฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล โดยมีผู้บริหารของคณะเภสัชศาสตร์จากสถาบันอุดมศึกษา 20 แห่งในประเทศไทย เข้าร่วมการประชุมถ่ายทอดผ่านระบบ Zoom Meeting

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ในฐานะประธาน ศ.ศ.ภ.ท. ยังได้ลงนามความร่วมมือในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการพัฒนาความร่วมมือฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ด้านการวิจัยยาทางคลินิก (Clinical Research Associate) ระหว่าง ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย และ บริษัท เครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เพื่อสังคม จำกัด ซึ่งลงนามโดย นายแพทย์ประวิช ตัญญสิทธิสุนทร ผู้อำนวยการ บริษัท เครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เพื่อสังคม จำกัด โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภก.ธนภัทร ทรงศักดิ์ ร่วมลงนามเป็นพยานของฝ่าย ศ.ศ.ภ.ท. และมี ภก.พิเชฐ กมลรุ่งสันติสุข ร่วมลงนามเป็นพยานของฝ่ายบริษัท เครือข่ายวิจัยทางการแพทย์เพื่อสังคม จำกัด โดยมีผู้บริหารของคณะเภสัชศาสตร์ในเครือข่าย ศ.ศ.ภ.ท. เข้าร่วมผ่านระบบออนไลน์

ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวมีเป้าหมายหลักเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพด้านการวิจัยยาทางคลินิกของนิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์ อีกทั้งยังร่วมกันพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมสำหรับเครือข่ายวิจัยทางการแพทย์ในการเป็นแหล่งฝึกงานทางเภสัชศาสตร์ชั้นเลิศของประเทศไทยอีกด้วย

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัยอีกด้วย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล