Loading…

อาจารย์เภสัชมหิดลร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุม The 3rd International Conference on Pharmaceutical Sciences and Military Pharmacy

131 ครั้ง   7 ตุลาคม 2566

เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 13:00 - 13.40 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd International Conference on Pharmaceutical Sciences and Military Pharmacy (ICOPMAP) ซึ่งจัดขึ้นหว่างวันที่ 6-7 ตุลาคม 2566 โดย Faculty of Military Pharmacy, the Republic of Indonesia Defense University (RIDU) ภายใต้หัวข้อหลัก The Role of Pharmacy in Biosecurity and Biodefense Perspectives to Encounter Emergency Situations ผ่านระบบการประชุมออนไลน์ Zoom Meeting 

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ \"Key Insights from Emergency Situations: Lessons for Preparedness in Providing Supporting Care for Cancer Patients\" ในการประชุมดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในระดับสากลสำหรับการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ทางด้านเภสัชศาสตร์และเภสัชกรรมทหาร (Military Pharmacy) โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมเป็นนักวิจัย นักวิชาการ และนักศึกษาเภสัชศาสตร์ของ RIDU ตลอดจนเภสัชกรวิชาชีพในแวดวงต่าง ๆ ของประเทศอินโดนีเซีย

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ทั้งในด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล