Loading…

เภสัชมหิดลร่วมกับ สวทช. ผลักดันฐานข้อมูลสมุนไพรไทย เพื่อตอบโจทย์อุตสาหกรรมเครื่องสำอางไทย 

291 ครั้ง   3 ตุลาคม 2566

เมื่อวันอังคารที่ 3 ตุลาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยทีมสำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ณัฏฐินี อนันตโชค หัวหน้าสำนักงานข้อมูลสมุนไพร พร้อมด้วย นางสาวกนกพร อะทะวงษา นักวิชาการข้อมูลสมุนไพร นายสุวิน กอเจริญทรัพย์ เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล ภาควิชาเภสัชกรรม เข้าร่วมหารือกับ ดร.อุรชา รักษ์ตานนท์ชัย รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ และธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ เพื่อทบทวนผลการดำเนินงาน เรื่อง การพัฒนา “ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก” เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้ประกอบการไทย ในการสืบค้น ศึกษา และนำข้อมูลมาใช้ในการคัดเลือกและกำหนดพืชสมุนไพรเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

โดยในระยะแรกนี้ มีพืชสมุนไพรจำนวน 50 ชนิดและได้ทำการเปิดทดลองให้ผู้ประกอบการได้เริ่มใช้ไปแล้วเมื่อปี 2565 โดยในที่ประชุมได้มีการนำเอาข้อเสนอแนะเบื้องต้นมาเป็นแนวทางในการปรับรูปแบบและเนื้อหาให้ตอบโจทย์ความต้องการของอุตสาหกรรมผู้ประกอบการเครื่องสำอางต่อไป ทั้งนี้ เมื่อดำเนินการปรับปรุงเสร็จแล้ว จะทำการเผยแพร่ในวงกว้างและพัฒนาต่อยอดจำนวนพืชสมุนไพรอย่างต่อเนื่องต่อไป 

ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมและใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวได้ที่ URL: https://cosmeherb.nbt.or.th

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา