Loading…

เภสัชมหิดลเข้าร่วมงานประชุมเภสัชกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 และวันเภสัชกรโลก 2566 (12th Thailand Pharmacy Congress and World Pharmacists Day 2023)

316 ครั้ง   24 กันยายน 2566

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 24 กันยายน 2566 เวลา 08.30 น. ผู้บริหารคณะฯ นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยนักศึกษา เข้าร่วมงานประชุมเภสัชกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 และวันเภสัชกรโลก 2566 (12th Thailand pharmacy congress and world pharmacists day 2023) ภายใต้หัวข้อ “Digital & Disruptive issues: challenge and opportunity for pharmacists to improve drug and health systems” ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทคบางนา กรุงเทพฯ

ในโอกาสนี้ ผู้บริหารคณะฯ ร่วมมอบดอกไม้แสดงความยินดีแก่ศิษย์เก่าคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.รุ่งเพ็ชร สกลบำรุงศิลป์ 2) ดร.ภญ.มุกดาวรรณ ประกอบไวทยกิจ 3) ภก.ภานุโชติ ทองยัง ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเภสัชกรดีเด่น ประจำปี 2566 และ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.รจพร วัชโรทยางกูร ผู้อำนวยการโครงการจัดตั้งศูนย์พัฒนาอุตสาหกรรมชีวภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสที่ได้รับรางวัล FAPA Awards 2023 จากสหพันธ์เภสัชกรรมสมาคมแห่งเอเชีย (The Federation of Asian Pharmaceutical Associations: FAPA) 

งานประชุมเภสัชกรรมแห่งชาติ จัดขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2544 เป็นต้นมา โดยจะจัดต่อเนื่องทุก 2 ปี และสำหรับปี 2566 นี้ จะเป็นการจัดการประชุมเภสัชกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12 (12th Thailand Pharmacy Congress) ประกอบกับ International Pharmaceutical Federation (FIP) หรือสหพันธ์เภสัชนานาชาติ กำหนดให้วันที่ 25 กันยายน ของทุกปีเป็น “วันเภสัชกรโลก” องค์กรเครือข่ายวิชาชีพจึงมีแนวคิดที่จะจัดงานเภสัชกรรมแห่งชาติ และ งานวันเภสัชกโลก ให้อยู่ในช่วงเวลาเดียวกันและผสมผสานเกื้อกูลกัน โดยมีเป้าหมายเพื่อสร้างเสริมความสามัคคีของเภสัชกรในองค์กรเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมที่ก่อเกิดมากว่าศตวรรษ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา