Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์จัดโครงการฝึกประสบการณ์วิชาชีพสำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Graduate School of Science and Technology, Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น

178 ครั้ง   30 สิงหาคม 2566

เมื่อวันพุธที่ 30 สิงหาคม 2566 เวลา 10.00 - 11.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิเทศสัมพันธ์ จัดการต้อนรับและปฐมนิเทศให้กับ Mr. Keisuke Itsukushima ซึ่งเป็นนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Graduate School of Science and Technology, Shinshu University ประเทศญี่ปุ่น โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กอบธัม สถิรกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 309 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ Mr. Keisuke Itsukushima เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อเข้ารับการฝึกอบรมทางวิชาชีพและฝึกปฏิบัติการวิจัย โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กอบธัม สถิรกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม 2566 ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2566 โดยได้รับการฝึกอบรมและฝึกปฏิบัติการวิจัยเกี่ยวกับการเลี้ยงยุงและการพัฒนาตำรับยาป้องกันยุง ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรมของคณะฯ และที่ ภาควิชากีฏวิทยาการแพทย์ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล โดยมี ดร.รวีวรรณ ศรีสวัสดิ์ เป็นผู้ฝึกอบรม

กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมและปฏิบัติงานทางวิชาชีพในระดับเฉพาะให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติ และส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพ และหน่วยงานทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องได้มีโอกาสในการขยายขอบเขตของความคิด สามารถแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ความชำนาญทางวิชาชีพ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ และแหล่งฝึกงานภายนอกในเวทีโลกและเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา