Loading…

เภสัชมหิดลต้อนรับนักศึกษาระดับปริญญาเอกจาก Bandung Institute of Technology

220 ครั้ง   28 สิงหาคม 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม 2566 เวลา 09.00 - 11.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา ให้การต้อนรับนักศึกษาระดับปริญญาเอก จำนวน 4 คน จาก School of Pharmacy, Bandung Institute of Technology (ITB) ประเทศอินโดนีเซีย โดยมีคณาจารย์ภาควิชาเภสัชเคมี นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กิตติศักดิ์ ศรีภา หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรชากร เอื้อติวงศ์ ร่วมให้การต้อนรับ ณ ห้องประชุม 409 อาคารราชรัตน์ 

นักศึกษาระดับปริญญาเอกจาก ITB ประกอบด้วย 1) Mr. Anjar Hermadi Saputro 2) Mr. Untung Gunawan 3) Ms. Hilda Aprilia Wisnuwardhani และ 4) Ms. Engrid Juni Astuti ซึ่งเดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อประชุมแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นด้านการวิจัย และนำเสนอโครงการวิจัยด้าน Pharmacochemistry Research โดยมีคณาจารย์และนักศึกษาร่วมรับฟังการนำเสนอ นอกจากนี้ นักศึกษาระดับปริญญาเอกจาก ITBยังได้มีโอกาสเข้าศึกษาดูงาน ณ หน่วยเครื่องมือวิจัยกลางของคณะฯ อีกด้วย 

สำหรับเค้าโครงงานวิจัยทั้ง 4 เรื่อง ประกอบด้วย 

1) หัวข้อ Development Of Natural Active Compounds As Hepatitis C (Hcv) Antiviral By In Silico And Vitro Studies นำเสนอโดย Mr. Anjar Hermadi Saputro

2) หัวข้อ Synthesis, Characterization, And Application Of Molecularly Imprinted Polymer For The Extraction Of Several Triazole Antifungals In Blood Plasma นำเสนอโดย Mr. Untung Gunawan

3) หัวข้อ Ag@Mip Nanocomposite As A Solid Phase Extraction Selective Sorbent For Antivirus Analysis In Blood Plasma นำเสนอโดย Ms. Hilda Aprilia Wisnuwardhani 

4) หัวข้อ Synthesis, Characterization Of Molecularly Imprinted Polymer And Its Applications For Analysis Enoxaparin In Biological Matrix นำเสนอโดย Ms. Engrid Juni Astuti

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา