Loading…

อาจารย์เภสัชมหิดลได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ ณ ประเทศอินโดนีเซีย

97 ครั้ง   15 มิถุนายน 2566

ระหว่างวันที่ 15-28 มิถุนายน 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ อาจารย์ประจำสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคมและการบริหาร ภาควิชาเภสัชกรรม ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ (visiting professor) จากมหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย โดยรองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ ได้มีโอกาสบรรยายทางวิชาการ และร่วมประชุมหารือความร่วมมือด้านการจัดการเรียนการสอน การวิจัย รวมไปถึงการจัดทำและตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ให้กับนักศึกษาระดับปริญญาตรี นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา และคณาจารย์ ของ 5 มหาวิทยาลัยในประเทศอินโดนีเซีย ได้แก่ 1) Universitas Gadjah Mada (UGM) 2) Universitas Megarezky (UNIMERZ) 3) Universitas Muhammadiyah Yogyakarta (UMY) 4) Universitas Jenderal Soedirman (UNSOED) และ 5) Universitas Muhammadiyah Purwokerto (UMP) 

สำหรับหัวข้อบรรยายทางวิชาการของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ ประกอบด้วย 

  • Why master’s degree in Pharmacy is important?
  • Health Economics for Hospital Management in Pharmacy Practice
  • Insight in good presentation in English containing social and administrative topics
  • Developing material for community education
  • Benchmarking how to develop and improve research center based on experience of SEAP-MUPY
  • Social and Administrative Pharmacy in Pharmacy Practice
  • Strategy to research publication at the international journals indexed by Scopus and WoS
  • Statistical method for pharmacoeconomic study
  • Discussion to evaluate existing curriculum to match with the double degree program
  • The importance of Pharmacoeconomics for the health system
  • Writing and publishing a systematic review in health research
  • Proposal Development and Publishing Thesis Research
  • Social and administrative Pharmacy education at faculty of Pharmacy Mahidol University
  • Examination Committee of 5 thesis proposals

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน เสริมสร้างภาพลักษณ์ด้านความเป็นเลิศทางวิชาการและวิจัยของคณาจารย์ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา