Loading…

คณบดีเภสัชมหิดลนำเสนอความก้าวหน้าของเภสัชศาสตร์ศึกษาของไทยในงานประชุมนานาชาติที่ประเทศมาเลเซีย

164 ครั้ง   4 กรกฎาคม 2566

เมื่อวันอังคารที่ 4 กรกฎาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับเชิญให้เป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ (Plenary Speaker) ในการประชุม 2023 Pharmaceutical Education and Research Leadership Summit (PEaRLS) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 กรกฎาคม 2566 โดย School of Pharmaceutical Sciences, Universiti Sains Malaysia (USM) ณ เมืองปีนัง ประเทศมาเลเซีย

ภายในงานประชุมดังกล่าว รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ได้บรรยายให้ผู้เข้าร่วมประชุมจากหลายประเทศในเอเชียเกี่ยวกับความก้าวหน้าของการศึกษาเภสัชศาสตร์ในประเทศไทย รวมทั้งถ่ายทอดประสบการณ์ของประเทศไทยในการนำระบบการศึกษาเภสัชศาสตร์หลักสูตร 6 ปีมาใช้เป็นประเทศแรกในอาเซียน และได้กลายเป็นต้นแบบให้ประเทศอื่นๆ ในอาเซียนและเอเชียสนใจที่จะดำเนินการตาม ซึ่งการบรรยายได้รับความสนใจและคำถามจากผู้เข้าร่วมการประชุมอย่างมาก

นอกจากนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ยังได้มีการเจรจาความร่วมมือด้านการศึกษาและการวิจัยกับผู้บริหารและคณาจารย์ของ School of Pharmaceutical Sciences, Universiti Sains Malaysia (USM) ซึ่งจัดเป็นมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงและได้รับการจัดอันดับอยู่ใน Top 100 สาขา Pharmacy & Pharmacology โดย QS Subject Ranking อีกด้วย

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน  และยังส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รวมทั้งเภสัชศาสตร์ศึกษาระหว่างประเทศไทยและมาเลเซีย รวมไปถึงสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 
 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา