Loading…

เภสัชมหิดลร่วม “การประชุมวิชาการศูนย์ประสานงานเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศคภท.)” ครั้งที่ 15 เรื่อง “Pharmacy Digital Transformation”

312 ครั้ง   1 มิถุนายน 2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 1 มิถุนายน 2566 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา พร้อมด้วยบุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วม \"การประชุมวิชาการศูนย์ประสานงานเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศคภท.)\" ครั้งที่ 15 ประจำปี พ.ศ. 2566 เรื่อง “Pharmacy Digital Transformation” ณ โรงแรมดิเอ็มเพรส จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทพ. พิริยะ เชิดสถิรกุล รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานในพิธี ดร.ทวีรรณ  อินดา ประธานศูนย์ประสานงานเครือข่ายบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศคภท.) เป็นผู้กล่าวรายงาน และ รองศาสตราจารย์ ดร. สุพัฒน์ จิรานุสรณ์กุล คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมวิชาการ 

โดยในปีนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรมการประชุมดังกล่าว ซึ่งภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายพิเศษเชิงปฏิบัติการจาก อาจารย์เดชนะ สิโรรส รองผู้บังคับการ วชิราวุธวิทยาลัย ในหัวข้อ “Digital Mindset : People Transformation” การนำเสนอผลงานรูปแบบบรรยาย (Oral Presentation) และโปสเตอร์ (Poster Presentation) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน เป็นเวทีในการนำเสนอผลงาน ตลอดจนการสร้างเครือข่ายระหว่างบุคลากรสายสนับสนุนเพื่อการพัฒนางานให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

สำหรับการประชุมวิชาการ ครั้งที่ 15 นี้ บุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมนำเสนอ จำนวน 5 ผลงาน แบ่งเป็นการนำเสนอผลงาน ด้านสำนักงาน แบบ Oral Presentation  จำนวน 3 ผลงาน แบบ Poster จำนวน 1 ผลงาน และ การนำเสนอผลงานด้านห้องปฏิบัติการ แบบ Poster Presentation จำนวน 1 ผลงาน

นับเป็นเวทีในการแสดงศักยภาพในการนำเสนอ และพัฒนาตนเองจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างประชุมวิชาการ  ซึ่งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมในครั้งต่อไป

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา