Loading…

เภสัชมหิดลร่วมงานประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2566 (Thai Pharmacy Education National Conference 2023)

362 ครั้ง   18 พฤษภาคม 2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤษภาคม 2566 เวลา 9.00 - 16.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วยคณาจารย์ของคณะฯ เข้าร่วมการประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ ประจำปี 2566 (Thai Pharmacy Education National Conference 2023) ณ โรงแรมเซ็นทาราอุบลราชธานี ซึ่งมีคณะเภสัชศาสตร์ทั้งภาครัฐและเอกชนเข้าร่วมในงานดังกล่าว จำนวน 19 สถาบัน 

การประชุมวิชาการเภสัชศาสตรศึกษาแห่งชาติ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤษภาคม 2566 โดยมีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี เป็นเจ้าภาพ ซึ่งในปีนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ในฐานะประธานศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ทิศทางการศึกษาเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย” ให้สอดรับกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น ทั้งในมิติภาคสังคม ระบบสาธารณสุข ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนายาและผลิตภัณฑ์สุขภาพอื่น ๆ ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สมหญิง พุ่มทอง ในฐานะเลขาธิการศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ได้นำเสนอร่างกรอบมาตรฐานการศึกษาเภสัชศาสตร์ของไทย ที่ได้ทำการปรับปรุงจากของเดิมที่จัดทำขึ้นในปี พ.ศ. 2558 มาเป็นกรอบใหม่ในปี พ.ศ. 2566 ซึ่งถือเป็นโอกาสอันดีที่คณาจารย์จากทุกสถาบันจะได้ร่วมหารือ แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนประสบการณ์ในประเด็นต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุงใน มคอ. 1 ฉบับใหม่

ทั้งนี้ คณาจารย์ของคณะฯ ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ และ 3) อาจารย์ ดร.ภญ.เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี ร่วมนำเสนอผลงานวิจัยด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา เป็นการส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เกิดการสร้างเครือข่ายความร่วมมือการทำงานด้านเภสัชศาสตรศึกษาระหว่างสถาบันต่อไป 

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา