Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดการนำเสนอผลการฝึกอบรมทางวิชาชีพในระดับนานาชาติของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก College of Pharmacy, University of Kentucky

200 ครั้ง   28 เมษายน 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 28 เมษายน 2566 เวลา 10.00-11.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดกิจกรรมนำเสนอผลการฝึกอบรมทางวิชาชีพ สาขาเภสัชกรรมคลินิกของนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 4 คน จาก College of Pharmacy, University of Kentucky ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอของนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ ห้องบรรยาย 405 อาคารราชรัตน์

นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 4 คน ประกอบด้วย 1) Ms. Lauren Elizabeth Dietz 2) Ms. Cemeron Mayzee Koontz 3) Ms. Regan Leigh Dean และ 4) Ms. Madison Nicole Meyer ได้เดินทางมาเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานทางวิชาชีพในสาขาเภสัชกรรมคลินิก ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และแหล่งฝึกงานภายนอก ภายใต้โครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมนักศึกษาต่างชาติจาก College of Pharmacy, University of Kentucky ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 มีนาคม 2566 ถึงวันที่ 28 เมษายน 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการฝึกอบรมทางวิชาชีพในสาขาเภสัชกรรมคลินิกให้แก่นักศึกษาต่างชาติ และส่งเสริมโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญทางวิชาชีพ ระหว่างคณาจารย์ เภสัชกรวิชาชีพประจำแหล่งฝึกงาน และนักศึกษา ผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ตลอดจนส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ และแหล่งฝึกงานภายนอก ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล อันเป็นการตอบสนองต่อการพัฒนาความเป็นนานาชาติของคณะฯ ต่อไป

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา