Loading…

อาจารยเภสัชมหิดลร่วมเป็นวิทยาการในการประชุมนานาชาติ นานาชาติ Pharmaceutical Systems Strengthening (PSS)

190 ครั้ง   23 มีนาคม 2566

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 23 มีนาคม 2566 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม และประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายในงานประชุมวิชาการนานาชาติ Pharmaceutical Systems Strengthening (PSS) ซึ่งเป็นโครงการระดับโลกที่เน้นการส่งเสริมความเข้มแข็งของระบบกำกับควบคุมดูแลยาในภาพใหญ่ ตั้งแต่ในส่วนของการขึ้นทะเบียน การประกันคุณภาพผลิตภัณฑ์ การประเมินความคุ้มค่า การส่งเสริมการใช้ยาสมเหตุสมผล และการเฝ้าระวังผลเสียของยา เป็นต้น โดยมี U.S. Agency for International Development (USAID) เป็นผู้ให้การสนับสนุน

ทั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง ได้เป็นหนึ่งในตัวแทนของประเทศไทย ในการนำเสนอความก้าวหน้าด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment, HTA) ของประเทศไทย ทั้งในส่วนของการผลิตบุคลากรผ่านหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของมหาวิทยาลัยมหิดล (Mahidol University Health Technology Assessment, MUHTA) การนำ HTA ไปใช้ในการกำหนดนโยบายการจัดทำบัญชียาหลักแห่งชาติและระบบประกันสุขภาพของประเทศ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอถึงความช่วยเหลือที่ประเทศไทยมีให้กับกลุ่มประเทศอาเซียน เอเชียใต้ และกลุ่มประเทศในแอฟริกา ผ่านการฝึกอบรมและการให้ทุนการศึกษาเพื่อเข้าศึกษาต่อในหลักสูตร MUHTA เป็นต้น การนำเสนอดังกล่าวได้รับคำชื่นชมจากผู้จัดงานประชุมถึงศักยภาพของมหาวิทยาลัยมหิดลและประเทศไทยในการเป็นผู้นำด้าน HTA ในกลุ่มประเทศที่กำลังพัฒนาที่มีประสบการณ์การดำเนินงานอย่างยาวนานและมีระบบที่เข้มแข็ง

นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าวยังสนับสนุนวิสัยทัศน์ของคณะฯ ในการเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล สู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา