Loading…

อาจารย์เภสัชมหิดลได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ ณ ประเทศอินโดนีเซีย

112 ครั้ง   6 มีนาคม 2566

ระหว่างวันที่ 6-16 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ สังกัดภาควิชาเภสัชกรรม ได้รับเชิญเป็นศาสตราจารย์อาคันตุกะ (Visiting Professor) จาก Faculty of Pharmacy, Gadjah Mada University ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการ วิจัย และบริการวิชาการ ทั้งการปฏิบัติงานผ่านระบบออนไลน์ (online) และปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ (on site) โดยมีระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม 2566 ซึ่งระหว่างวันที่ 6-16 มีนาคม 2566 รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ ได้เดินทางไปบรรยายทางวิชาการและให้คำปรึกษาทางวิชาการเป็นครั้งแรก

นอกจากนี้ ยังได้บรรยายพิเศษยเพิ่มเติมให้กับอีกสถาบันอุดมศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย อีก 3 แห่ง ได้แก่ Universitas Ngudi Waluyo (NWU), Universitas Islam Sultan Agung (Unissula), Universitas Diponegoro (UNDIP) โดยมีคณาจารย์นักศึกษาระดับปริญญาตรี ทั้งในหลักสูตรปกติและหลักสูตรนานาชาติ นักศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก ได้ร่วมฟังการบรรยายพิเศษ และได้ขอรับการปรึกษาทางวิชาการอีกด้วย

สำหรับหัวข้อบรรยายพิเศษ ประกอบด้วย Pharmacy Education in Thailand,  Social and Administrative Pharmacy in Pharmacy Practice, Health Economics for Management and Development of Hospital Services, How to Use Hospital Database for Pharmacoeconomic Study, Costing Method for Pharmacoeconomic Study, How to Develop a Thesis Proposal, Developing Research Idea in Social and Administrative Pharmacy, Strategy of Research Publication

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา