Loading…

เภสัชมหิดลขอแสดงความยินดีกับผู้ได้รับรางวัลบุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล (ระดับส่วนงาน) ประจำปี พ.ศ. 2565

689 ครั้ง   28 กุมภาพันธ์ 2566

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ขอแสดงความยินดีกับบุคลากรสายวิชาการและบุคลากรสายสนับสนุน เนื่องในโอกาสที่ได้รับการคัดเลือกเป็นบุคลากรดีเด่นของมหาวิทยาลัยมหิดล (ระดับส่วนงาน) ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยมีรายนาม ดังนี้

กลุ่มที่ 1 ข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา 
1) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ชุติมา เพชรกระจ่าง สังกัดภาควิชาเภสัชเคมี
2) นายอิทธิพล อิทธิอำนวยพันธุ์ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไปชำนาญการ สังกัดภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

กลุ่มที่ 2 ลูกจ้างประจำเงินงบประมาณ
1) นางสาวมณีรัตน์ เที่ยงบุญ ตำแหน่ง พนักงานธุรการ สังกัดหน่วยสารบรรณ งานบริหารทั่วไป

กลุ่มที่ 3 ลูกจ้างประจำเงินนอกงบประมาณ
1) นายประหยัด สีชมภู ตำแหน่ง พนักงานทั่วไป สังกัดภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม

กลุ่มที่ 4 พนักงานมหาวิทยาลัย

4.1 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาการ 
1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล สังกัดภาควิชาเภสัชกรรม (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี)
2) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า สังกัดภาควิชาเภสัชเคมี (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน ตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี)
3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล สังกัดภาควิชาจุลชีววิทยา (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน ตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป)

4.2 พนักงานมหาวิทยาลัย ประเภทวิชาชีพหรือสนับสนุนทั่วไป
1) นางสาวสุภาวดี ทิมอ่ำ ตำแหน่ง นักวิทยาศาสตร์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สังกัดศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายเคมี) (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกันไม่เกิน 10 ปี)
2) ดร.อัมพร สงคศิริ ตำแหน่ง นักวิเทศสัมพันธ์ (ผู้ชำนาญการพิเศษ) สังกัดงานวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน ตั้งแต่ 10 ปี แต่ไม่เกิน 20 ปี)
3) นางสาวสิริมา วูดเด่น ตำแหน่ง นักวิชาการพัสดุ (ผู้ชำนาญการ) สังกัดหน่วยพัสดุ งานคลังและพัสดุ (ระยะเวลาปฏิบัติงานติดต่อกัน ตั้งแต่ 20 ปี ขึ้นไป)

โดยจะมีพิธีมอบรางวัลในงานครบรอบ 54 ปี วันพระราชทานนาม และ 135 ปี มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันพฤหัสบดีที่ 2 มีนาคม 2566 เวลา 13.45 น. ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา