Loading…

เภสัชมหิดลช่วยเกษตรกรจังหวัดกาฬสินธุ์พัฒนาสมุนไพรสู่พาณิชย์

351 ครั้ง   24 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 คณาจารย์จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เดินทางไปเป็นวิทยากรรับเชิญให้กับเกษตรกร จำนวน 50 คน ในจังหวัดกาฬสินธุ์ ภายใต้โครงการ “การอบรมเกษตรกรปลูกพืชสมุนไพรแบบอินทรีย์” ซึ่งจัดโดย สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) กาฬสินธุ์ โดยมีผู้ประสานงานคือ เภสัชกรปริญญา กองกาย ศิษย์เก่าเภสัชมหิดลรุ่น 18 ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง เภสัชกรชำนาญการ (ด้านเภสัชสาธารณสุข) ของ สสจ.กาฬสินธุ์ 

สำหรับทีมวิทยากรของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย 1) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นพมาศ สุนทรเจริญนนท์ ที่ปรึกษาคณบดีด้านสมุนไพร 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อมราพร วงศ์รักษ์พานิช 5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย 6) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุญธิดา มระกูล และ 7) อาจารย์ ดร.ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ 

ทั้งนี้ การฝึกอบรมดังกล่าวจัดขึ้นทั้งหมด 7 รุ่น รุ่นละ 50 คน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนเมษายน พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกษตรกรในจังหวัดกาฬสินธุ์มีความรู้และความเข้าใจในแนวทางของการผลิตวัตถุดิบสมุนไพรให้ได้มาตรฐาน และสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์สมุนไพรในรูปแบบต่างๆ สู่เชิงพาณิชย์ได้ โดยการอบรมมีทั้งส่วนที่เป็นการบรรยายและการลงมือฝึกปฏิบัติจริง เพื่อให้เกษตรกรเกิดทักษะที่จะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้จริงต่อไป

นอกจากนี้ กิจกรรมบริการวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และ เป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา