Loading…

งานบริหารงานวิจัยฯ จัด KM เรื่อง “การใช้เครื่องติดตามเซลล์และโมเลกุลด้วยระบบวิเคราะห์อัตโนมัติด้วยระบบกล้องจุลทรรศน์แบบคอลโฟคอลชนิดจานหมุน”

340 ครั้ง   22 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 - 15.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Knowledge Management) ด้านการวิจัย ครั้งที่ 1 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 เรื่อง “การใช้เครื่องติดตามเซลล์และโมเลกุลด้วยระบบวิเคราะห์อัตโนมัติด้วยระบบกล้องจุลทรรศน์แบบคอลโฟคอลชนิดจานหมุน” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมและต้อนรับวิทยากร พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ เป็นผู้ดำเนินรายการ ณ ห้องประชุม V501 อาคารวิจัยประดิษฐ์ หุตางกูร และถ่ายทอดผ่านระบบ Cisco Webex Meetings โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมจำนวน 30 คน

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก Dr. Jeremy Yeo และ Dr. Ashley Lim ซึ่งเป็นผู้แทนจาก บริษัท เพอร์กิน เอลเมอร์ จำกัด ให้เกียรติมาเป็นวิทยากรฝึกอบรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดวิธีการและเทคนิคการใช้เครื่องติดตามเซลล์และโมเลกุลด้วยระบบวิเคราะห์อัตโนมัติด้วยระบบกล้องจุลทรรศน์แบบคอลโฟคอลชนิดจานหมุน ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์สำหรับงานวิจัยทางคลินิก เช่น การทดสอบยากับเซลล์ที่ได้จากผู้ป่วย ซึ่งจะช่วยให้เกิดการพัฒนาคุณภาพงานวิจัยของประเทศเป็นอย่างมาก อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนการคิดค้นยาใหม่ รวมถึงการศึกษาประสิทธิภาพของยาแต่ละชนิดโดยการใช้เครื่องมือที่ทันสมัย สามารถประเมินผลได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำอีกด้วย

นอกจากนี้ กิจกรรม KM ดังกล่าวยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา