Loading…

เภสัชมหิดลเข้าหารือความร่วมมือกับ Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit

286 ครั้ง   8 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันพุธที่ 8 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.30-15.30 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วิชิต โนสูงเนิน รองคณบดีฝ่ายการศึกษาหลักสูตรนานาชาติ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ ที่ปรึกษาคณบดี ได้เดินทางไปเข้าพบ Prof. Joel Tarning ซึ่งเป็น Professor และ Head of Clinical Pharmacology Group, Mahidol Oxford Tropical Medicine Research Unit (MORU) ณ คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ม.มหิดล เพื่อเจรจาความร่วมมือในด้านการเรียนการสอนและการวิจัยด้าน Pharmacokinetics / Pharmacodynamic (PK/PD) ระหว่างสองสถาบัน

ทั้งนี้ ทีมวิจัยของ Prof. Joel Tarning จัดเป็นทีมวิจัยที่มีผลงานในระดับโลก และมีผลงานตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำของโลกจำนวนมาก โดยความเข้มแข็งทางวิชาการของทีมวิจัยนี้ ได้แก่ Bioanalytical Method Development, Drug Measurements in Biological Fluids and Pharmacometric Research โดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มยาที่มักใช้ในการรักษาโรคเขตร้อนที่พบบ่อยเช่น ยารักษาวัณโรค ยาต้านมาลาเรีย เป็นต้น โดยความร่วมมือทางวิชาการที่เป็นไปได้ ได้แก่ การแลกเปลี่ยนบุคลากรและนักศึกษา ความร่วมมือด้านการวิจัย หลักสูตรการศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ตลอดจนการประชุมและสัมมนาร่วมกัน อันจะส่งเสริมให้เกิดความสัมพันธ์อันดีระหว่างสองสถาบันในอนาคต

นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา