Loading…

เภสัชมหิดลเข้ารับมวลสารศักดิ์สิทธิ์ ณ วัดลาดน้ำขาว จ.สุพรรณบุรี

564 ครั้ง   1 กุมภาพันธ์ 2566

เมื่อวันพุธที่ 1 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 10.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพ ในฐานะประธานคณะกรรมการ "โครงการพระพุทธมหามงคลเภสัชเพื่อการศึกษา ในวาระครบรอบ 55 ปี การสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล" พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ ในฐานะรองประธานคณะกรรมการฯ เข้ากราบนมัสการ พระครูสังฆรักษ์ สมาน ญาณวโร เจ้าอาวาสวัดลาดน้ำขาว ตำบลสาลี อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เพื่อขอรับมวลสาร “พระผงสุพรรณ” อันเป็นหนึ่งในเบญจภาคีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของประชาชนชาวไทย ในการนำไปเป็นหนึ่งในมวลสารศักดิ์สิทธิ์ สำหรับการปลุกเสกในพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคลสำหรับโครงการดังกล่าวต่อไป

ทั้งนี้ “โครงการพระพุทธมหามงคลเภสัชเพื่อการศึกษา ในวาระครบรอบ 55 ปี การสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล” เป็นโครงการสำคัญที่คณะฯ ได้จัดขึ้นเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 55 ปี แห่งการสถาปนาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในวันที่ 7 มิถุนายน 2566 โดยวัตถุประสงค์หลักสำคัญ เพื่อจัดหารายได้สมทบทุน จำนวน 55 ล้านบาท เพื่อนำไปจัดตั้ง “กองทุนพระพุทธมหามงคลเภสัชเพื่อการศึกษา” สำหรับนำไปสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการดำเนินพันธกิจและการจัดการด้านการศึกษาของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ ทุนการศึกษาสำหรับนักศึกษา เครื่องมือวิทยาศาสตร์ในห้องปฏิบัติการ เครื่องมือและอุปกรณ์สำหรับการเรียนการสอน ตลอดจนอาคารสถานที่ภายในคณะฯ และสิ่งอำนวยความสะดวกทางการศึกษา รวมถึงสภาพแวดล้อมทางกายภาพ เป็นต้น โดยการเปิดรับบริจาคจากศิษย์เก่า ศิษย์ปัจจุบัน ผู้ปกครอง บุคลากร นักศึกษา และประชาชนผู้ที่มีจิตศรัทธาทั่วไป

ทั้งนี้ การบริจาคเงินจากผู้มีจิตศรัทธาทุกท่าน สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า  นอกจากนี้ท่านจะยังได้รับวัตถุมงคลอันเป็นสิริมงคลยิ่ง อาทิ ผ้ายันต์ พระผง พระกริ่ง พระบูชา เป็นของขวัญตามยอดการบริจาค ซึ่งวัตถุมงคลทุกชิ้นจะรับการประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดยพระเกจิอาจารย์ในการปลุกเสก นอกจากนี้ คณะฯ ยังได้รับพระราชานุญาตให้อัญเชิญอักษร พระนามาภิไธย “ส.ธ.” มาประดับที่ด้านหลังของพระผงอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา