Loading…

ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรเปิดให้ทดลองใช้แล้ว

954 ครั้ง   31 มกราคม 2566

สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติและธนาคารทรัพยากรชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิด “ฐานข้อมูลสมุนไพรเพื่อการใช้ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพรสำหรับใช้ภายนอก” ให้ทดลองใช้แล้ววันนี้

ฐานข้อมูลสมุนไพรฯ ดังกล่าวได้ถูกพัฒนาขึ้นโดยความร่วมมือขององค์กรพันธมิตรข้างต้นเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลให้กับผู้ประกอบการไทย ในการสืบค้น ศึกษาและนำข้อมูลมาใช้ในการคัดเลือกและกำหนดพืชสมุนไพรเป้าหมายที่มีศักยภาพสูงในการนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง

ฐานข้อมูลสมุนไพรฯ ดังกล่าวได้ถูกออกแบบให้สืบค้นได้หลากหลายวิธีเช่น สืบค้นจากการนำไปใช้ (เส้นผม ผิวหน้า ผิวกาย ช่องปาก/ริมฝีปาก) สืบค้นจากกลุ่มของสารที่ออกฤทธิ์ หรือสืบค้นจากส่วนของพืชที่ใช้เป็นต้น โดยในระยะแรกนี้ มีพืชสมุนไพรจำนวน 50 ชนิด และจะมุ่งหน้าพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งเป้าจะให้มีข้อมูลพืชสมุนไพรไม่น้อยกว่า 1,000 ชนิด ภายในปี 2568

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลชื่อพืช การกระจายตัวทางภูมิศาสตร์ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ส่วนที่ใช้ สรรพคุณและการใช้สมุนไพรพื้นบ้านตามภูมิปัญญาไทย การสกัด แยกและตรวจพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารสำคัญ การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญ สารสำคัญในสมุนไพร ประโยชน์ทางเครื่องสำอางและผลิตภัณฑ์สมุนไพร การศึกษาทางพิษวิทยาและความปลอดภัย ข้อห้ามใช้และข้อควรระวัง อาการไม่พึงประสงค์ ผลงานวิจัย และเอกสารอ้างอิง รวมไปถึงข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการขึ้นทะเบียน ข้อบังคับ/กฎหมายที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการที่สนใจยังสามารถดาวน์โหลดข้อมูลของสมุนไพรเหล่านั้นในรูปแบบของ PDF file จากฐานข้อมูลสมุนไพรฯ ดังกล่าวได้อีกด้วย

ผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมและใช้ฐานข้อมูลดังกล่าวได้ที่ URL: https://demo1.nbt.or.th/ 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา