Loading…

งานการศึกษาฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 1

483 ครั้ง   18 มกราคม 2566

เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 13.15 - 15.45 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การตัดเกรดชนิดต่าง ๆ การออกข้อสอบแบบ MCQs การทวนสอบแบบ Transformative Learning” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องบรรยาย 206 อาคารราชรัตน์ โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้เกียรติเป็นวิทยากรหลายท่าน นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การทำ Reflection and Feedback” รวมทั้ง คณะฯ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมครั้งนี้ด้วย ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ดนัย วังสตุรค จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ "หลักการตัดเกรด และการตัดเกรดวิธีต่างๆ" และ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมชาย สุริยะไกร จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “การสอบแบบ MCQs การประเมินผลการสอบ และการทวนสอบ”

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสอนของบุคลากรสายวิชาการ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคและประสบการณ์ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ของคณะฯ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตตามที่คณะฯ ได้ตั้งปณิธานไว้ 

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา