Loading…

ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์จัดบริการวิชาการ Herbal Appreciation เรื่อง Herbal Walk สำรวจสมุนไพรในสวน รอบที่ 2

541 ครั้ง   17 ธันวาคม 2565

เมื่อวันเสาร์ที่ 17 ธันวาคม 2565 เวลา 08.30-14.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ จัดกิจกรรมบริการวิชาการ ภายใต้โครงการ Herbal Appreciation เรื่อง “Herbal Walk สำรวจสมุนไพรในสวน” รอบที่ 2 ณ สวนวชิรเบญจทัศน์ (สวนรถไฟ) และอุทยานผีเสื้อและแมลง โดยมีคณาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์เป็นวิทยากรจัดกิจกรรมอบรมและให้ความรู้แก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจเข้าร่วมจำนวน 23 คน สำหรับกิจกรรมในโครงการดังกล่าว ประกอบด้วย กิจกรรมที่ 1 การเดินสำรวจและบันทึกพืชสมุนไพรในสวนรถไฟ เรียนรู้สรรพคุณของพืชสมุนไพรที่สำรวจพบ โดยมีวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่ 

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดวงใจ ตั้งมั่นในธรรม
  3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมธี พุ่มทุ่ม และ
  4. อาจารย์วัชระ อาญหาญ

และกิจกรรมที่ 2 การจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง โดยมีวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่ 

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นิศารัตน์ ศิริวัฒนเมธานนท์
  2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร
  3. อาจารย์ ดร.ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ และ
  4. อาจารย์วัชระ อาญหาญ

ซึ่งรูปแบบการจัดกิจกรรมได้อาศัยการเดินสำรวจและบันทึกพืชสมุนไพรที่พบในสวนสาธารณะ เรียนรู้สรรพคุณของพืชสมุนไพรที่สำรวจพบ และอบรมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้ง 

ทั้งนี้ กิจกรรมบริการวิชาการ ชุด Herbal Appreciation ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับพืชสมุนไพรและพฤกษศาสตร์เบื้องต้น รวมทั้งให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำตัวอย่างพรรณไม้แห้งเพื่อสันทนาการแก่ประชาชนทั่วไปที่สนใจ ซึ่งภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์เล็งเห็นว่าสวนสาธารณะในกรุงเทพมหานครเป็นพื้นที่สาธารณะที่มีความหลากหลายของพรรณไม้ที่จัดแสดงไว้อย่างสวยงาม นอกจากจะเป็นสถานที่ที่ประชาชนนิยมไปออกกำลังกายและพักผ่อนหย่อนใจแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งเรียนรู้เชิงสันทนาการเกี่ยวกับพืชสมุนไพรของประชาชนที่สนใจได้เป็นอย่างดี จึงได้จัดกิจกรรมบริการวิชาการ เรื่อง “Herbal Walk สำรวจสมุนไพรในสวน” ขึ้น โดยมุ่งเน้นการเผยแพร่องค์ความรู้ทางพฤกษศาสตร์เบื้องต้นของพืชสมุนไพร การจำแนกพืชสมุนไพรใกล้ตัวอย่างง่าย และการจัดทำพรรณไม้แห้งเพื่อสันทนาการแก่ประชาชน ซึ่งจะช่วยให้ประชาชนได้เรียนรู้และรู้จักพืชสมุนไพรใกล้ตัว สามารถใช้สมุนไพรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม เกิดทัศนคติที่ดีต่อการใช้พืชสมุนไพร อีกทั้งยังช่วยให้เห็นคุณค่าของธรรมชาติ และช่วยปลูกฝังให้เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาไทยอีกด้วย 

นอกจากนี้ กิจกรรมบริการวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 12 สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา