Loading…

เภสัชมหิดลให้การต้อนรับอาจารย์อาคันตุกะจาก Josai International University ประเทศญี่ปุ่น

651 ครั้ง   09 ธันวาคม 2565
เมื่อวันศุกร์ที่ 9 ธันวาคม 2565 เวลา 10.00 น. รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กอบธัม สถิรกุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย ร่วมให้การต้อนรับ Prof. Dr. Yuichi Sugiyama อาจารย์อาคันตุกะจาก School of Pharmacy, Laboratory of Quantitative System Pharmacokinetics / Pharmacodynamics, Josai International University ประเทศญี่ปุ่น ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารเทพรัตน์ ทั้งนี้ Prof. Dr. Yuichi Sugiyama เป็นผู้ได้รับทุนสนับสนุนนักวิชาการอาคันตุกะ เพื่อมาปฏิบัติงาน ณ มหาวิทยาลัยมหิดล (ระยะสั้น) ประจำปีงบประมาณ 2566 ของมหาวิทยาลัยมหิดล และเดินทางมาเยือนคณะฯ อย่างเป็นทางการ เพื่อร่วมปฏิบัติงานทางวิชาการและวิจัย ณ สาขาวิชาเทคโนโลยีเภสัชกรรม ภาควิชาเภสัชกรรม และปฏิบัติงานแบบออนไลน์ ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2565 ถึงวันที่ 15 มกราคม 2566 โดยมีกิจกรรมทางวิชาการ ประกอบด้วย การสอนและบรรยายให้แก่นักศึกษาระดับปริญญาตรีและระดับบัณฑิตศึกษา ความร่วมมือในโครงการวิจัย และกิจกรรมทางการศึกษาอื่นๆ อาทิ วิทยากรในการสัมมนาทางวิชาการ ความร่วมมือในการผลิตผลงานทางวิชาการและวิจัย การให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย มีคุณธรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม รวมไปถึงการผลิตและเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมาตรฐานในระดับประเทศและนานาชาติ อีกทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10: ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17: เสริมความเข้มแข็งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูสภาพหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา