Loading…

เภสัชมหิดลร่วมงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair ประจำปี 2565

490 ครั้ง   29 พฤศจิกายน 2565
เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565 เวลา 09.00 น. บุคลากรสายสนับสนุน คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล เข้าร่วมงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair ประจำปี 2565 โดยกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้หัวข้อ “Good Governance in Digital Era: ธรรมาภิบาลในยุคดิจิทัล” ณ มหิดลสิทธาคาร มหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา และถ่ายทอดสอผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Events งานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair ประจำปี 2565 จัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดพื้นที่แสดงความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการพัฒนางานจากบุคลากรในส่วนงานต่างๆ ของมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งเป็นการขับเคลื่อนการพัฒนาคุณภาพงานไปพร้อมๆ กับการพัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี ดังจะเห็นได้จากมีการนำเครื่องมือและกระบวนการต่างๆ มาประยุกต์ใช้ขับเคลื่อนด้านการพัฒนาคุณภาพบุคลากร ให้เหมาะสมกับบริบทของมหาวิทยาลัย ให้ก้าวทันกับการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในและภายนอก อีกทั้งยังเป็นพื้นที่แห่งความภาคภูมิใจสำหรับผู้ได้รับรางวัลและผู้นำเสนอผลงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่าน เพื่อต่อยอดการสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาตน พัฒนางานนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย พิธีเปิดมหกรรมคุณภาพ และการมอบรางวัล Team Good Practice Award, Innovative Teaching Award โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดงานและมอบรางวัลดังกล่าว นอกจากนี้ ยังมีการบรรยายพิเศษ หัวข้อ ’บทบาทมหาวิทยาลัยกับการพัฒนารัฐบาลดิจิทัล’ โดย ดร.สุพจน์ เธียรวุฒิ ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) และการเสวนา หัวข้อ ’Digital Transformation’ โดยวิทยากร 4 ท่าน ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธัชวีร์ ลีละวัฒน์ รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและวิทยาเขตกาญจนบุรี มหาวิทยาลัยมหิดล 2) อาจารย์ ดร. นพ.บดินทร์ ทรัพย์สมบูรณ์ คณะกรรมการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านสาธารณสุข) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล 3) อาจารย์ ดร.พัฒนศักดิ์ มงคลวัฒน์ คณบดีคณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยมหิดล และ 4) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.โษฑศ์รัตต ธรรมบุษดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึงกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เรื่อง The AUN Technology Enhanced Personalised Learning (AUN-TEPL) และการนำเสนอผลงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยมหิดล ใน 3 กลุ่มผลงาน ได้แก่ 1) Team Good Practice Award 2) Oral presentation 3) Story telling และ 4) Poster presentation ในโอกาสนี้ มีผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์ ซึ่งผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ ได้ร่วมนำเสนอประเภท Poster presentation จำนวน 2 ผลงาน ดังนี้ 1. ผลงาน เรื่อง ความพึงพอใจของนักศึกษาต่อสื่อการเรียนรู้วิธีการย้อมสีแบคทีเรีย โดยคุณนันทวรรณ จินากุล และคุณปัณเอก เรืองศิริกร 2. ผลงาน เรื่อง การพัฒนาระบบการทำแบบทดสอบความรู้หลังจบการประชุมวิชาการออนไลน์ เพื่อเก็บหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่องของเภสัชกร โดยใช้ Google form โดยคุณอมรรัตน์ ใจละม่อม และคุณสุพัตรา กองแก้ว นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีส่วนช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education) อีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา