Loading…

เภสัชมหิดลจัดพิธีเปิดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life)

535 ครั้ง   22 พฤศจิกายน 2565
เมื่อวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00 - 16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ฝ่ายส่งเสริมความรู้ ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดโครงการส่งเสริมทักษะทางการเงินสำหรับคนวัยทำงาน (Fin. ดี Happy Life) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 409 อาคารราชรัตน์ และถ่ายทอดสดผ่านระบบ Cisco Webex Meetings โดยมีบุคลากรสายวิชาการและสายสนับสนุนให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว ประกอบด้วย 3 กิจกรรมย่อย ได้แก่ 1) กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ หัวข้อ ’วางแผนดี มีเงินออม’ ในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 2) กิจกรรมบรรยายให้ความรู้ หัวข้อ ’หนี้หาย สบายใจจัง’ ในวันพุธที่ 14 ธันวาคม 2565 และ 3) กิจกรรมส่งเสริมการออมเงิน ’ออมวันละนิด พิชิตรางวัล’ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 22 มกราคม 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของคณะฯ ได้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน การบริหารจัดการหนี้อย่างเหมาะสม บุคลากรมีทักษะการวางแผนในการออมเงินระยะสั้นและระยะยาว อีกทั้งยังสามารถลดรายจ่ายที่ไม่จำเป็น และมีเงินออมเผื่อฉุกเฉินในระยะสั้นอีกด้วย สำหรับกิจกรรมแรกในวันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2565 เป็นการบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมโครงการในหัวข้อ ’วางแผนดี มีเงินออม’ โดยมี คุณจรรยา จันทร์เจตนาดี หัวหน้าหน่วยงานเงิน และ คุณชญานุตม์ นิรมร หน่วยทรัพยากรบุคคล เป็นวิทยากรบรรยายเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงินส่วนบุคคล นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา