Loading…

เภสัชมหิดลต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก University of Southern California

735 ครั้ง   02 พฤศจิกายน 2565
เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดี พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา ให้การต้อนรับคณาจารย์ ซึ่งนำโดย Assoc. Prof. Dr. Eunjoo Pacifici และนักศึกษาระดับปริญญาเอก รวมจำนวน 11 คน จาก Department of Regulatory and Quality Sciences, School of Pharmacy, University of Southern California (USC) ประเทศสหรัฐอเมริกา ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ ในโอกาสนี้ คณาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาการกำกับดูแลเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ชุติมา เพชรกระจ่าง ประธานหลักสูตรฯ พร้อมด้วยคณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ ให้เกียรติเข้าร่วมต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก USC ด้วย ซึ่งได้เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาการและการบริหารจัดการหลักสูตร แบ่งปันประสบการณ์ที่เกี่ยวข้องร่วมกันในการกำกับดูแลยา เภสัชภัณฑ์ และผลิตภัณฑ์สุขภาพของทั้งสองประเทศ รวมไปถึงได้ร่วมหารือถึงโอกาสในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือทางด้านวิชาการ การศึกษา การวิจัย และการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างสองสถาบัน นอกจากนี้ ศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ลีณา สุนทรสุข ให้เกียรติร่วมนำเสนอข้อมูลของหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาวิทยาการกำกับดูแลเภสัชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์สุขภาพ รวมทั้งนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาของทั้งสองสถาบันยังได้ร่วมนำเสนอผลงานทางวิชาการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันด้วย โดยนักศึกษาของคณะฯ ได้นำเสนอ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่อง Transparency in drug regulation: Public assessment report by national regulatory authorities with stakeholder perspective โดย นายจารุวัฒน์ เจนวุฒิพาณิชย์ และ 2) เรื่อง Potential of Medical Cannabis Legalization in Indonesia, a Comparison with Thailand’s Recent Legalization Process โดย Ms. Henny Aryani ในขณะที่นักศึกษาของ USC ได้นำเสนอ จำนวน 2 เรื่อง ได้แก่ 1) เรื่อง Big data: Real world data and real-world evidence โดย Ms. Katy Rudnick และ 2) เรื่อง FDA’s accelerated approval pathway and current policy landscape โดย Ms. Tayler Renshaw หลังจากนั้น จึงเป็นการเยี่ยมชมหน่วยงานต่างๆ ภายในคณะ อาทิ ศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ สำนักงานข้อมูลสมุนไพร คลังข้อมูลยา และสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา