Loading…

เภสัชมหิดลร่วมรับฟังการนำเสนอผลการฝึกอบรมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก University of Arizona

675 ครั้ง   21 ตุลาคม 2565
เมื่อวันศุกร์ที่ 21 ตุลาคม 2565 เวลา 09.00-10.00 น. รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการฝึกอบรมทางวิชาชีพ (Exit Presentation) ในสาขาเภสัชกรรมคลินิกในระดับนานาชาติ (International Clinical Rotation) ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนในหลักสูตร Pharm. D. จำนวน 3 คน จาก College of Pharmacy, University of Arizona ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งจัดโดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผ่านระบบ Zoom Meeting นักศึกษาแลกเปลี่ยนจากประเทศสหรัฐอเมริกาทั้ง 3 คน ได้แก่ (1) Ms. Ngoc Tran-Minh Nguyen (2) Ms. Jacqueline Barrera (3) Ms. Anitha Ramadoss ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติงานทางวิชาชีพในสาขาเภสัชกรรมคลินิก ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และแหล่งฝึกงานภายในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตั้งแต่วันที่ 19-30 กันยายน 2565 ภายใต้การดูแลของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา รวมทั้งยังได้เดินทางไปฝึกปฏิบัติงานที่ ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.เชียงใหม่ และหน่วยงานในเครือข่าย ตั้งแต่วันที่ 1-21 ตุลาคม 2565 ภายใต้การดูแลของ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มันติวีร์ นิ่มวรพันธุ์ อีกด้วย ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกอบรมการปฏิบัติงานทางวิชาชีพในระดับเฉพาะให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในเวทีโลกและเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล นอกจากนี้ ยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/activities/3266

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา