Loading…

เภสัชมหิดลจัดสัมมนาเชิงวิชาการในหัวข้อ “What makes a quality publication: From OMICs to Reality’

389 ครั้ง   31 สิงหาคม 2565
เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00 – 15.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิจัยชีวเภสัชศาสตร์เพื่อสุขภาวะวัยชรา จัดสัมมนาเชิงวิชาการ หัวข้อ “What makes a quality publication: From OMICs to Reality” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการสัมมนาดังกล่าว ซึ่งคณะฯ ได้รับเกียรติจากนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญภายนอก ร่วมเป็นวิทยากรในการสัมมนาดังกล่าว ได้แก่ อาจารย์ นพ.ไตรรักษ์ พิสิษฐ์กุล ผู้อำนวยการศูนย์ชีววิทยาเชิงระบบ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ ดร.สุกัญญา ยงเกียรติตระกูล นักวิจัยห้องปฏิบัติการการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล ไบโอเทค โดยมีคณาจารย์ในคณะฯ นักวิจัย นักวิชาการ และบุคคลภายนอกให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมประมาณ 60 คน ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ ทั้งนี้ งานสัมมนาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดประสบการณ์ด้านงานวิจัย โดยเฉพาะเทคโนโลยีแมสสเปคโตรมิเตอร์ ชนิด Orbitrap™ จนถึงกระบวนการตีพิมพ์ตามวารสารชั้นนำและการต่อยอดสู่ภาคเอกชน ตลอดจนสร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิจัยรุ่นใหม่ และส่งเสริมโอกาสในการจัดตั้งโครงการความร่วมมือด้านการวิจัยในอนาคต อีกทั้งยังนับเป็นโอกาสอันดีในการประชาสัมพันธ์ “หน่วยวิจัยชีวเภสัชศาสตร์เพื่อสุขภาวะวัยชรา” ของคณะฯ อันจะนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือด้านวิชาการและวิจัยกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อการสร้างสรรค์งานวิจัยและบริการวิชาการสู่สังคมและประเทศชาติต่อไป การสัมมนาดังกล่าวยังมีการแบ่งกลุ่มเยี่ยมชมหน่วยวิจัยฯ โดยมีการนำเสนอการใช้งาน ได้แก่ 1) เทคนิคการถ่ายภาพชื้นเนื้อ (Slice scanner) โดยวิทยากรจากบริษัท เดอะ ไซเอนซ์ แอนด์ เอ็ดดูเคชั่นแนล จำกัด 2) เทคนิคการวัดออกซิเจนในระดับเซลล์ (Seahorse XFe96 analyzer) โดยวิทยากรจากบริษัท อาร์ไอ เทคโนโลยี่ส์ จำกัด 3) เทคนิค LC-HRMS โดยวิทยากรจากบริษัท ซายน์ สเปคจำกัด นอกจากนี้ เป้าหมายสำคัญอีกประการหนึ่งของการสัมมนาวิชาการดังกล่าว คือ การตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน โดยเป็นผู้นำด้านวิชาการในการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องและทันสมัยให้แก่เภสัชกรวิชาชีพ นักวิชาการ นักวิจัย และบุคลากรสาธารณสุข เพื่อการพัฒนาทางวิชาชีพต่อไป สามารถตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา