Loading…

เภสัชมหิดลลงนาม MOU กับวิทยาลัยนานาชาติ เพื่อความร่วมมือด้านการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติ

516 ครั้ง   25 สิงหาคม 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม 2565 เวลา 10.00-12.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ประธานหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการดำเนินการจัดการเรียนการสอนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติเข้าร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามดังกล่าว ณ ห้องจรินทร์ยารัศมิ์ อาคารอทิตยาทร วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับผู้แทนลงนามของทั้งสองฝ่าย มีดังต่อไปนี้ ฝ่ายคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามโดย 1. รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดี 2. รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา 3. รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ ประธานหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ฝ่ายวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมลงนามโดย 1. ศาสตราจารย์ แพทย์หญิง จุฬธิดา โฉมฉาย คณบดี 2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชมพูนุท ผ่องจิตร์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา ทั้งนี้ บันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อประสานความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างสองส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดล ในการร่วมกันจัดการเรียนการสอนรายวิชาศึกษาทั่วไปและรายวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ด้วยภาษาอังกฤษ สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีในหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) ชั้นปีที่ 1 ของคณะเภสัชศาสตร์ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเริ่มดำเนินการในปีการศึกษา 2567 นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนวิสัยทัศน์ของคณะฯ ในการเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากลสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน รวมทั้งสนับสนุนพันธกิจการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย มีคุณธรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม รวมไปถึงตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา