Loading…

ภาควิชาเภสัชเคมี จัดการประชุมวิชาการเภสัชเคมี ครั้งที่ 13 เรื่องการอบรมเพื่อยกระดับทักษะอุตสาหกรรมยาไทย: เส้นทางคุณภาพ – จากวัตถุดิบทางยาสู่ผลิตภัณฑ์

581 ครั้ง   04 สิงหาคม 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 4 สิงหาคม 2565 เวลา 09.00-16.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชเคมี จัดการประชุมวิชาการเภสัชเคมี ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ “การอบรมเพื่อยกระดับทักษะอุตสาหกรรมยาไทย: เส้นทางคุณภาพ-จากวัตถุดิบทางยาสู่ผลิตภัณฑ์” ภายใต้โครงการ Reinventing University: Drug Discovery & Development ซึ่งจัดขึ้นผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Webinars ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วม จำนวน 135 คน การประชุมวิชาการเภสัชเคมี ครั้งที่ 13 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 4-5 สิงหาคม 2565 ซึ่งในครั้งนี้ คณะฯ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายใน และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก ได้แก่ 1) ดร.ภญ.อรศิริ ศรีคุณ จากองค์การเภสัชกรรม 2) ภก.ปิยะ ฉิ่นมณีวงศ์ จากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา และ 3) ดร.ภญ.ภวนันท์ สว่างจันทร์ จากบริษัทสยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งเป็นเภสัชกร คณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล รวมไปถึงนักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์ ที่ปฏิบัติงานเกี่ยวกับการค้นพบและพัฒนายา รวมถึงการประกันคุณภาพและควบคุมคุณภาพยา สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุมประเด็นสำคัญ อาทิ การสังเคราะห์วัตถุดิบที่เป็นตัวยาสำคัญจนถึงขั้นการเตรียมตำรับยา ความรู้เกี่ยวกับสารปนเปื้อนที่มากับตัวยาสำคัญ การพัฒนาวิธีวิเคราะห์เพื่อการประกันคุณภาพของยา และการพัฒนาคิดค้นยาที่เป็นชีววัตถุและการควบคุมคุณภาพในด้านความคงตัวของตัวยา เป็นต้น ทั้งนี้ การประชุมวิชาการเภสัชเคมี ครั้งที่ 13 มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับองค์ความรู้ใหม่ด้านเภสัชเคมีในประเด็นสำคัญที่มีการเปลี่ยนแปลงในตำรายา กระบวนการพิสูจน์เอกลักษณ์ของตัวยาสำคัญเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อยอดการควบคุมคุณภาพ และสามารถประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาและประเมินวิธีวิเคราะห์เพื่อทดสอบการละลายและการตรวจสอบสารเจือปน ตลอดจนสามารถพัฒนาและควบคุมคุณภาพวัตถุดิบทางยาที่เป็นสารเคมีและชีววัตถุที่มีบทบาทในการป้องกันและรักษาโรคในปัจจุบัน การประชุมวิชาการดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ภายใต้โครงการพลิกโฉมมหาวิทยาลัย (Reinventing University) ซึ่งหนึ่งในโครงการย่อยที่ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้รับมอบหมายให้ดําเนินการ คือ การยกระดับทักษะอุตสาหกรรมยาไทย เพื่อเสริมสร้างและเพิ่มพูน ทักษะในด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ยา สมุนไพร โภชนเภสัช และเครื่องสําอาง ให้กับบุคลากรของมหาวิทยาลัย ผู้ประกอบการภาครัฐและเอกชน บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในสาขาเภสัชศาสตร์และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการประชุมวิชาการดังกล่าวยังนับเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมที่ภาควิชาเภสัชเคมีจัดขึ้นเพื่อ ’ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร (ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล)’ และเป็นผู้ที่มีคุณูปการในการวางรากฐานวงการอุตสาหกรรมยาไทยอีกด้วย นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต ในโอกาสนี้ คณะฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดการประชุม ดังรายนามต่อไปนี้ 1) บริษัท สิทธิพรแอสโซซิเอส จำกัด 2) บริษัท พาราไซแอนติฟิค จำกัด

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา