Loading…

มูลนิธิคณะเภสัชศาสตร์จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่องน่ารู้ของอาหารเหลวและอาหารปั่นผสมที่ให้ทางสายให้อาหาร

522 ครั้ง   27 กรกฎาคม 2565
เมื่อวันพุธที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30-12.00 น. มูลนิธิคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการภายใต้โครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชนในหัวข้อ ’เรื่องน่ารู้ของอาหารเหลวและอาหารปั่นผสมที่ให้ทางสายให้อาหาร’ ณ ห้องบรรยาย 105 อาคารราชรัตน์ ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภญ.พร้อมจิต ศรลัมพ์ ประธานมูลนิธิฯ ให้เกียรติกล่าวเปิดโครงการและกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการฝึกอบรมซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปที่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมาณ 10 คน สำหรับกิจกรรมการฝึกอบรม ประกอบด้วย การบรรยายทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ จากคณาจารย์ของคณะฯ อาทิ หัวข้อ อาหารปั่นผสม อาหารที่ให้ทางสายให้อาหาร คืออะไร ใช้กับใคร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ถาวรีย์ ถิละเวช หัวข้อ ผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ คืออะไร ใช้กับใคร โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ศวิตา จิวจินดา และหัวข้อ ทำอย่างไรหากต้องให้ยาแก่ผู้ป่วยที่ได้อาหารทางสายให้อาหาร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.พิชญา ดิลกพัฒนมงคล หลังจากนั้นจึงเป็นกิจกรรมเชิงปฏิบัติการ ได้แก่ การทำอาหารปั่นผสมจากอาหารสด และการทำอาหารจากผลิตภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ สูตรปกติและสูตรดัดแปลง ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการได้รับความรู้และมีความเข้าใจเกี่ยวกับอาหารเหลวและอาหารปั่นผสมที่ให้ทางสายให้อาหาร รวมไปถึงการใช้ยาอย่างปลอดภัยในผู้ป่วยที่ได้อาหารทางสายให้อาหาร อีกทั้งยังเป็นการร่วมเฉลิมฉลองในวาระ 100 ปี ชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร คณบดีคนแรก และผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทางมูลนิธิฯ จึงจัดโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน ตามปณิธานของอาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร ที่มุ่งให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดีและใช้ยาอย่างปลอดภัย นอกจากนี้ ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา