Loading…

งานการศึกษาฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการดูแลนักศึกษาแบบ Transformative Learning ประจำปี 2565

694 ครั้ง   21 กรกฎาคม 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม 2565 เวลา 08.30-16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล โดยงานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนากระบวนการเรียนการสอน และการดูแลนักศึกษาแบบ Transformative Learning ประจำปี 2565” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมดังกล่าว ณ ณ ห้องบรรยาย 302 อาคารเทพรัตน์ โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมการประชุม ประมาณ 70 คน สำหรับกิจกรรม ประกอบด้วย การบรรยายในหัวข้อต่างๆ อาทิ หัวข้อ ’ผลการวิเคราะห์ความเชื่อมโยงระหว่าง PLOs, CLOs, teaching, assessment methods และการรายงานเกรดตาม PLOs ปีการศึกษา 2563-2564 ตามเกณฑ์ AUN-QA’ โดยรองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา หัวข้อ ’Modular Education: What’s next?’ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ หัวข้อ ’Flexible education of the Pharm.D. program’ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก. บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ รองคณบดีฝ่ายบัณฑิตศึกษา หัวข้อ ’Rubric score for PLO4, PLO5, PLO8’ โดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร และอาจารย์ ภญ.กัลยาณี โตนุ่ม และหัวข้อ ’การทำ Active reflection และ Feedback แก่นักศึกษา’ โดยรองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวกำหนดจัดขึ้น 2 ครั้ง ในวันที่ 21 และ 26กรกฎาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจและส่งเสริมทักษะของบุคลากรสายวิชาการของคณะฯ ในการจัดการเรียนการสอน วิธีการเรียนการสอน และการประเมินผล เพื่อนำไปสู่การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพในระดับสากล โดยสามารถนำเทคนิคการจัดการเรียนการสอนไปประยุกต์ใช้ในรายวิชาการของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ยังมุ่งเพิ่มพูนทักษะการสะท้อนคิดเชิงรุก (Active reflection) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ของบุคลากรสายวิชาการ เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม โดยเป้าหมายสำคัญของการประชุมเชิงปฏิบัติการ คือ 1) บุคลากรสายวิชาการสามารถดำเนินการประสาน PLOs, CLOs รวมทั้งเทคนิคการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลได้ 2) บุคลากรสายวิชาการสามารถใช้วิธีการสอนแบบ Modular education และใช้โปรแกรม REXX (E-logbook) ในการติดตามกระบวนการเรียนรู้ของนักศึกษาได้ 3) บุคลากรสายวิชาการสามารถประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยใช้ Rubric score ได้ 4) บุคลากรสายวิชาการสามารถให้การสะท้อนคิดเชิงรุก (Active reflection) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) แก่นักศึกษาได้ และ 5) บุคลากรสายวิชาการสามารถวางแผนการเรียนการสอนของหลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (นานาชาติ) ได้ นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา