Loading…

หน่วยทรัพยากรบุคคลจัดโครงการผลักดันความก้าวหน้าในการขอตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน

681 ครั้ง   09 มิถุนายน 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 9 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00-16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยทรัพยากรบุคคล จัดการฝึกอบรมภายใต้โครงการผลักดันความก้าวหน้าในการขอตำแหน่งที่สูงขึ้นของบุคลากรสายสนับสนุน ครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นการบรรยายใน 3 หัวข้อหลัก ประกอบด้วย 1) การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน 2) การวิเคราะห์และสังเคราะห์งาน และ 3) ผลงานวิจัย และบทความทางวิชาการ รวมทั้งการฝึกปฏิบัติ (Workshop) กลุ่มย่อยตามตำแหน่งงานของบุคลากรสายสนับสนุน ซึ่งได้ให้ความสนใจเข้าร่วมโครงการฯ มากกว่า 40 คน ณ ห้องบรรยาย 207 อาคารราชรัตน์ ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.มนตรี จาตุรันต์ภิญโญ รองคณบดีฝ่ายบริหาร ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดโครงการดังกล่าว และกล่าวต้อนรับทีมวิทยากร ซึ่งคณะฯ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 4 คน ประกอบด้วย 1) รองศาสตราจารย์ ดร.สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ 2) รองศาสตราจารย์ ดร.ภัทร์ พลอยแหวน 3) รองศาสตราจารย์ ดร.สมศักดิ์ อมรสิริพงศ์ และ 4) รองศาสตราจารย์ ดร.กฤษณ์ รักชาติเจริญ มาเป็นวิทยากรบรรยายและฝึกปฏิบัติในครั้งนี้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรสายสนับสนุนของคณะฯ ได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำผลงานประเภทต่างๆ ตลอดจนมีความเข้าใจในหลักเกณฑ์ วิธีการเตรียมเอกสาร และการจัดทำผลงานเพื่อการขอกำหนดตำแหน่งที่สูงขึ้น อาทิ การวิเคราะห์และสังเคราะห์งาน การจัดทำคู่มือปฏิบัติงาน ผลงานวิจัย รวมทั้งการฝึกปฏิบัติเพื่อนำเสนอผลงานทางวิชาการในรูปแบบต่างๆ เพื่อประกอบการเสนอขอตำแหน่งที่สูงขึ้นได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ สามารถยกระดับผลงานจากงานประจำ ต่อยอดไปถึงการนำเสนอผลงานออกสู่สังคมภายนอกให้เป็นที่ประจักษ์ในวงกว้าง อันจะนำไปสู่การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรสายสนับสนุนของคณะฯ ให้มีความก้าวหน้าในวิชาชีพตามสายงานต่างๆ ต่อไป นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ และมีผลิตภาพ และการมีงานที่สมควรสำหรับทุกคน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา