Loading…

ภาควิชาเภสัชกรรมจัดฝึกอบรมระยะสั้นด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม

725 ครั้ง   01 มิถุนายน 2565
เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดโครงการฝึกอบรมระยะสั้นด้านการบริบาลทางเภสัชกรรม โดยมี รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.พิชญา ดิลกพัฒนมงคล ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม ในโครงการฝึกอบรมดังกล่าว ซึ่งกิจกรรมประกอบด้วย กิจกรรมการบรรยายทางวิชาการและการฝึกอบรมเพิ่มพูนทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรม ณ แหล่งฝึกปฏิบัติงานภายนอก จำนวน 4 แห่ง ได้แก่ 1) คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2) โรงพยาบาลจุฬาภรณ์ 3) สถาบันประสาทวิทยา กรมการแพทย์ และ 4) คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีเจตคติและความรู้เชิงลึกในด้านการบริบาลเภสัชกรรมผู้ป่วยใน ใน 4 สาขา ได้แก่ 1) สาขาผู้ป่วยวิกฤต 2) สาขาผู้ป่วยโรคมะเร็งชนิดก้อน 3) สาขาผู้ป่วยโรคระบบประสาท และ 4) สาขาผู้ป่วยโรคผู้สูงอายุ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจในการรักษาด้วยยาและติดตามผู้ป่วยเฉพาะรายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มพูนทักษะในการให้คำแนะนำผู้ป่วยด้านยาและการเสริมสร้างสุขภาพในสาขาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งยังทั้งมีทักษะและความสามารถในการวางแผน ปรึกษา ประสานงาน และปฏิบัติงานร่วมกับทีมสหสาขาวิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถระบุปัญหาระหว่างยา การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา และสามารถป้องกันหรือติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม รวมถึงสามารถกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการบริบาลเภสัชกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยเฉพาะราย ทั้งนี้ การฝึกอบรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา