Loading…

งานการศึกษาฯ จัดโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้ารับการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล

782 ครั้ง   01 มิถุนายน 2565
เมื่อวันพุธที่ 1 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00-15.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดโครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้ารับการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ โครงการดังกล่าวได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นวิทยากรบรรยาย เรื่อง ’เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล (MU-PSF)’ และมีทีมคณาจารย์ร่วมแบ่งปันประสบการณ์การขอรับการประเมิน MU-PSF และการเตรียมหลักฐาน ประกอบด้วย 1) รองศาสตราจารย์ ดร.ศวิตา จิวจินดา 2) อาจารย์ ดร. ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ และ 3) อาจารย์ ดร. เมธี ศรีประพันธ์ ทั้งนี้ โครงการพัฒนาอาจารย์เพื่อเข้ารับการประเมินระดับคุณภาพการจัดการเรียนการสอน ตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล มีเป้าหมายหลักเพื่อให้บุคลากรสายวิชาการของคณะฯ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเกณฑ์ของ MU-PSF รวมไปถึงขั้นตอนในการเตรียมหลักฐานเพื่อขอรับการประเมิน MU-PSF ในระดับต่างๆ อีกทั้งยังเพื่อให้คณาจารย์ของคณะฯ ที่ได้รับการประเมินระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพอาจารย์ ได้มาร่วมถ่ายทอดประสบการณ์และถ่ายทอดแนวคิดและกระบวนการรับการประเมิน อันจะช่วยส่งเสริมให้คณาจารย์ในคณะฯ สามารถเตรียมพร้อมเพื่อขอรับการประเมินระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนตามเกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ ซึ่งจะทำให้หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิตของคณะฯ มีบุคลากรสายวิชาการที่ได้รับการประเมินตามเกณฑ์ของ MU-PSF ระดับ 2 และระดับ 3 ต่อไป นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา