Loading…

เภสัชมหิดลลงนามความร่วมมือกับ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด เพื่อสนับสนุนการเพิ่มพูนทักษะด้าน GDP

877 ครั้ง   28 เมษายน 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 28 เมษายน 2565 เวลา 09.00-10.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.สาธิต พุทธิพิพัฒน์ขจร หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด ซึ่งนำโดย Mr. Brett Marshall (Corporate Head of Quality Assurance, Zuellig Pharma Holdings) และ คุณพักตร์นลิน บูลกุล ประธานกรรมการบริหาร ซิลลิค ฟาร์มา ประเทศไทย เป็นผู้แทนและร่วมลงนามความร่วมมือดังกล่าว ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้บริหารคณะฯ และผู้แทนจากบริษัทฯ เข้าร่วมเป็นสักขีพยาน ทั้งนี้ ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อยกระดับการพัฒนาศักยภาพของคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาของคณะฯ โดยการเรียนรู้ด้วยตนเองผ่านการเข้าใช้งานระบบสนับสนุนการเรียนรู้ (Learning Management System) ซึ่งจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการเรียนรู้ เรื่อง การประกันคุณภาพการจัดการโลจิสติกส์ของผลิตภัณฑ์ยา จากบทเรียนออนไลน์ที่พัฒนาขึ้นโดย บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการกระจายยา (Good Distribution Practice, GDP) รวมจำนวน 14 โมดูล อาทิ Good Storage and Distribution Practices, Handling Audits, GCP on the Storage & Distribution of CTM และ Pharmacovigilance เป็นต้น อันจะเป็นการช่วยเพิ่มพูนทักษะและองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องให้กับคณาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา รวมทั้งเสริมสร้างความเป็นเลิศทางวิชาการและวิชาชีพให้แก่ประชาคมเภสัชมหิดลต่อไป นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา