Loading…

สโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์จัดกิจกรรมประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ (Pharmaoke Singing Contest)

986 ครั้ง   30 มีนาคม 2565
เมื่อวันพุธที่ 30 มีนาคม 2565 เวลา 13.00-16.00 น. สโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยชมรมแสงเสียงและมัลติมีเดีย และชมรมดนตรีสากล จัดกิจกรรมประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ ประจำปี 2565 (Pharmaoke Singing Contest) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องบรรยาย 302 อาคารเทพรัตน์ และถ่ายทอดสดผ่าน Facebook Live และ Instagram Live ของสโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า และ อาจารย์ ดร.ทนพ.เมธี ศรีประพันธ์ ยังได้ให้เกียรติร่วมร้องเพลงก่อนเริ่มกิจกรรมการประกวดดังกล่าวอย่างเป็นทางการ โดยในการประกวดปีนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ 4 ท่าน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ปิยนุช โรจน์สง่า ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวรรยา บูรณะผลิน อาจารย์ ดร.เมธี ศรีประพันธ์ และอาจารย์ ดร.ยิ่งรัก บุญดำ ช่วยบุญ ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงของนักศึกษา ซึ่งให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการประกวด จำนวน 21 ทีม ทั้งนี้ โครงการประกวดร้องเพลงคาราโอเกะ (Pharmaoke Singing Contest) มี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.บรมพจน์ พฤฒิวนาสัณฑ์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ซึ่งจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้นักศึกษา คณาจารย์ และบุคลากร ได้มีโอกาสในการทำกิจกรรมนันทนาการร่วมกันโดยใช้ดนตรีเป็นสื่อกลาง สนับสนุนให้เกิดการแสดงความสามารถทางดนตรีและสร้างบรรยากาศรื่นเริงภายในคณะ อันจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างกัน ส่งเสริมความกล้าแสดงออก และช่วยบรรเทาความเครียดสะสมจากการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานภายในคณะฯ นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา