Loading…

เภสัชมหิดลร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd CMU-MU Virtual Joint Symposium

1339 ครั้ง   11 มีนาคม 2565
เมื่อวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 2565 เวลา 14.00-18.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 3rd CMU-MU Virtual Joint Symposium ซึ่งจัดโดย College of Medicine, China Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะเภสัชศาสตร์ และ คณะสาธารณสุขศาสตร์ ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings และมี Prof. Dr. John S. Kuo, Vice President, China Medical University สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) กล่าวเปิดการประชุมนานาชาติดังกล่าว กิจกรรมในการประชุมวิชาการแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ได้แก่ Public Health Session และ Pharmacy Session ซึ่งแต่ะละช่วงประกอบด้วยการบรรยายทางวิชาการในสาขาเภสัชศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง จากวิทยากรรับเชิญของทั้ง 3 สถาบัน รวมทั้งการประชุมหารือเกี่ยวกับความร่วมมือทางวิชาการในอนาคตกับทั้ง 2 ส่วนงานของมหาวิทยาลัยมหิดลด้วย ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ ได้ร่วมเป็นผู้ดำเนินการอภิปราย (Moderator) ใน Pharmacy Session และคณาจารย์ของคณะฯ ยังได้ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการประชุม ดังนี้ 1) อาจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ ’Novel Co-delivery System of Doxorubicin and Plant-based Compounds from Mangifera indica L. as Adjuvant Therapy Against Hepatocellular Carcinoma’ 2) อาจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ ’Identification and Clinical Outcomes Evaluation of Drug-Related Problems in Cancer Patients: A Developing Country’s Perspective’ ทั้งนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และผลงานวิจัยในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ เภสัชศาสตร์ และสาธารณสุขศาสตร์ ระหว่างคณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ซึ่งจะช่วยสนับสนุนความร่วมมือทางวิชาการและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือ รวมทั้งส่งเสริมภาพลักษณ์และความเป็นเลิศทางวิชาการของบุคลากรของคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา