Loading…

ภาควิชาเภสัชกรรมจัดประชุมวิชาการ เรื่อง Drug Interactions: From PK/PD to Patient Safety & Optimal Outcomes (DI-P2)

1251 ครั้ง   17 กุมภาพันธ์ 2565
ระหว่างวันที่ 17-19 กุมภาพันธ์ 2565 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดประชุมวิชาการ เรื่อง Drug Interactions: From PK/PD to Patient Safety & Optimal Outcomes (DI-P2) ผ่านระบบ Cisco Webex Events โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุมซึ่งมีผู้ให้ความสนใจลงทะเบียนเข้าร่วมการประชุมกว่า 690 คน ในการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายในคณะฯ และผู้ทรงคุณวุฒิภายนอก เป็นวิทยากรบรรยายให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุม ซึ่งเป็นเภสัชกร แพทย์ และบุคลากรสาธารณสุขจากโรงพยาบาล บริษัทยา และหน่วยงานด้านสาธารณสุขในระดับต่างๆ ของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมการประชุมได้มีความรู้ ความเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงกลไกของการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา เพื่อประยุกต์และนำมาใช้ในการวางแผนการรักษาที่มุ่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความปลอดภัยและได้รับประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ยาโดยอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ รวมทั้งยังสามารถประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาร่วมกัน สามารถวางแผนติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยา และให้คำปรึกษาทางยาแก่ผู้ป่วยให้เกิดความตระหนักในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้นได้ สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุมหัวข้อ การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา (drug interaction) ขอบเขตของปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นโดยการประยุกต์ความรู้ทางเภสัชจลนศาสตร์ (pharmacokinetics) และเภสัชพลศาสตร์ (pharmacodynamics) การค้นหาและประเมินปฏิกิริยาระหว่างยา คู่ปฏิกิริยาระหว่างยาที่มีนัยสำคัญทางคลินิกอ้างอิงตามหลักฐานทางวิชาการ การประเมินความเหมาะสมของการใช้ยาที่เกิดปฏิกิริยาระหว่างยา การวางแผนการติดตามประสิทธิภาพและความปลอดภัยจากการใช้ยาร่วมกัน การให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขอาการไม่พึงประสงค์ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งปัญหาปฏิกิริยาระหว่างยาเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้เกิดผลเสียต่อผู้ป่วย นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ ’ร่วมรำลึกและสืบสานปณิธาน 100 ปีชาตกาล อาจารย์ประดิษฐ์ หุตางกูร (ผู้ก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล)’ อีกทั้งยังเพื่อเป็นการรำลึกถึง รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล อดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 17 กันยายน 2559 – 16 กันยายน 2563) อีกด้วย ทั้งนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ ในโอกาสนี้ คณะฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดการประชุม ดังรายนามต่อไปนี้ 1) บริษัท เซอร์เวียร์ (ประเทศไทย) จำกัด 2) บริษัท เบอริงเกอร์ อินเกลไฮม์ (ไทย) จำกัด 3) บริษัท ซาโนฟี่-อเวนตีส (ประเทศไทย) จำกัด 4) บริษัท โนโว นอร์ดิสค์ ฟาร์มา (ประเทศไทย) จำกัด 5) บริษัท แอลเลอร์แกน (ประเทศไทย) จำกัด 6) เวอร์วาก ฟาร์มา จีเอ็มบีเอช แอนด์ โค เคจี 7) บริษัท แจนเซ่น-ซีแลก จำกัด 8) บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด 9) บริษัท ไทยโอซูก้า จำกัด 10) บริษัท ไฟเซอร์ (ประเทศไทย) จำกัด 11) บริษัท บี.เอ็ล.ฮั้ว จำกัด 12) บริษัท โนวาร์ตีส แผนกธุรกิจ SANDOZ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา