Loading…

มหาวิทยาลัยมหิดลประชุมหารือความร่วมมือด้าน Drug Discovery กับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ

989 ครั้ง   20 มกราคม 2565
เมื่อวันที่ 20 มกราคม 2565 เวลา 13:30-16:30 น. มหาวิทยาลัยมหิดลจัดการประชุมหารือร่วมกับศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผ่านระบบออนไลน์ Webex Cisco Meeting โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการผลักดันความร่วมมือด้าน Drug Discovery ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือเครือข่ายพันธมิตรการวิจัยสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยมหิดล-ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หนึ่งในโครงการ Flagship Project ของมหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีผู้แทนของมหาวิทยาลัยมหิดลที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์และประธานคลัสเตอร์ Drug Discovery ฝ่ายมหาวิทยาลัยมหิดล 2) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม คณะเภสัชศาสตร์ 3) ศาสตราจารย์ ดร.ฤทัยวรรณ โต๊ะทอง รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ 4) ศาสตราจารย์ ดร.เจตสุมน ประจำศรี รองคณบดีฝ่ายวิจัย คณะเวชศาสตร์เขตร้อน ประธานคลัสเตอร์ Tropical Diseases ฝ่ายมหาวิทยาลัยมหิดล และ 5) ศาสตราจารย์ ดร.เทวัญ จันทร์วิไลศรี คณะวิทยาศาสตร์ ประธานคลัสเตอร์ Omics Technology ฝ่ายมหาวิทยาลัยมหิดล สำหรับผู้แทนของศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ 1) ดร.เกื้อกูล ปิยะจอมขวัญ รองผู้อำนวยการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมฯ 2) ดร.นตพร จันทร์วราสุทธิ์ รองผู้อำนวยการศูนย์ฯ 3) พันโทหญิงจามรี พิสุทธิพันธุ์ ผู้อำนวยการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายสนับสนุนการวิจัย และ 4) ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย หัวหน้าทีมวิจัยวิศวกรรมโปรตีน-ลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล การประชุมดังกล่าวเริ่มต้นด้วยการนำเสนองานวิจัยและ Platform วิจัยที่สำคัญของทั้งสองสถาบัน และมีคณาจารย์และนักวิจัยกว่า 40 คนจากทั้งสองสถาบันเข้าร่วมประชุมและให้ความเห็น โดยหัวข้อการนำเสนอโดยนักวิจัยไบโอเทค ได้แก่ 1. Target Discovery and Rational Design to Overcome Drug Resistant Malaria โดย ดร.ดารินทร์ คงคาสุริยะฉาย 2. Drug Design and Synthesis for Infectious diseases โดย ดร.นิติพล ศรีมงคลพิทักษ์ 3. Bioactive Secondary Metabolites from Microorganisms โดย ดร.ธริดาพร บัวเจริญ 4. Scaffold hopping from lead compound to natural phytochemical mimics โดย ดร.ธนพร อึ้งเวชวานิช สำหรับหัวข้อการนำเสนอโดยนักวิจัยมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ 1. Synthesis of Small Molecules towards Drug Discovery โดย ศาสตราจารย์ ดร.ชุติมา คูหากาญจน์ คณะวิทยาศาสตร์ 2. Identification of anti-aging compounds: from yeast model to clinical testing โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อมรรัตน์ นรานันทรัตน์ เจนเซน คณะวิทยาศาสตร์ 3. Preclinical animal testing for drug discovery and development โดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ฤดี เหมะสถาปัตย์ คณะวิทยาศาสตร์ 4. Computational Approaches in Lead Discovery and Preclinical Studies: The Prominent Paradigm for Compound Optimization in Early and Late Phase Drug Discovery and Development โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วิชิต โนสูงเนิน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล คณะเภสัชศาสตร์ หลังการนำเสนอได้มีการหารือโอกาสในความร่วมมือโดยอาศัยจุดแข็งของทางศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติในการทำ Drug Discovery ซึ่งเน้นที่ต้นน้ำ ได้แก่ Target Identification, Target Validation และ Hits to Leads ในขณะที่มหาวิทยาลัยในภาพรวมมีจุดแข็งในด้านความครบถ้วนของ Drug Discovery & Development Platform (MU-DDD) ซึ่งทำให้เกิด Seamless Collaboration ระหว่างสองสถาบันได้เป็นอย่างดี

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา