Loading…

งานกิจการนักศึกษาจัดอบรมอาจารย์ที่ปรึกษา เรื่อง Feedback: การให้ข้อมูลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์

1267 ครั้ง   08 กันยายน 2564
เมื่อวันพุธที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานกิจการนักศึกษา จัดโครงการอบรมอาจารย์ที่ปรึกษา: การให้คำปรึกษาเบื้องต้น ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ’Feedback: การให้ข้อมูลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์’ ผ่านระบบ Cisco Webex Meetings โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษาและพัฒนาคุณภาพ กล่าวต้อนรับวิทยากรจำนวน 3 ท่าน ประกอบด้วย 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ.ชยุติ วงศ์เลิศวิศวกร จากคณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช 2) อาจารย์ นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข จากคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล และ 3) คุณแกมแก้ว โบษกรนัฏ จากกองกิจการนักศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรมประกอบด้วยการบรรยายและฝึกอบรม จำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งแรกเมื่อวันที่ 31 สิงหาคม 2564 เป็นการบรรยายในหัวข้อ ’Generation Gap เข้าใจวัยที่แตกต่าง’ สำหรับในครั้งที่สอง วันที่ 8 กันยายน 2564 เป็นการบรรยายในหัวข้อ ’Feedback: การให้ข้อมูลสะท้อนกลับเชิงสร้างสรรค์’ ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรมเชิงฝึกปฏิบัติในหัวข้อต่างๆ ปิดท้ายด้วยการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างทีมวิทยากรและคณาจารย์ของคณะฯ ซึ่งให้ความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรม ประมาณ 40 คน ทั้งนี้ โครงการอบรมอาจารย์ที่ปรึกษาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้อาจารย์ที่ปรึกษาได้มีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ กระบวนการ และเทคนิคในการให้คำปรึกษา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดูแลช่วยเหลือนักศึกษาที่ประสบปัญหาด้านสุขภาวะทางใจได้อย่างเหมาะสม นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education) ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/activities/3004

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา