Loading…

อาจารย์เภสัชมหิดลร่วมเป็นวิทยากรในการประชุม US-Thai Pharmacy Consortium (Post-Conference)

1161 ครั้ง   30 กรกฎาคม 2564
เมื่อวันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 08.00-10.00 น. (ตามเวลาในประเทศไทย) อาจารย์ ดร.ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ สังกัดภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ เข้าร่วมเป็นวิทยากรบรรยาย หัวข้อ From case to class: Problem-based learning of steroid-adulteration in herbal medicine ในการประชุมวิชาการนานาชาติ US-Thai Pharmacy Consortium (Post-Conference) ซึ่งจัดขึ้นในหัวข้อหลัก ’Laboratory Teaching in the Era of COVID: Lessons Learned and Best Practices ’ โดย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท.) ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meetings โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย นักวิชาการ นักศึกษาเภสัชศาสตร์ จาก 18 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศไทย และ 16 สถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ของประเทศสหรัฐอเมริกา รวมไปถึงคณาจารย์และนักวิชาการจากสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ในกลุ่มประเทศอาเซียน เภสัชกรประจำบ้าน และเภสัชกรวิชาชีพ เข้าร่วมการประชุมออนไลน์ดังกล่าวมากกว่า 160 คน ทั้งนี้ การประชุมดังกล่าวประกอบด้วยการบรรยายจากวิทยากรรับเชิญ จำนวน 3 ท่านจาก School of Pharmacy, University of Maryland ประเทศสหรัฐอเมริกา คณะเภสัชศาสตร์ จุฬารงกรณ์มหาวิทยาลัย และคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวทางและประสบการณ์ในการจัดการเรียนการสอน รายวิชาฝึกปฏิบัติการของทั้ง 3 สถาบัน ในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทั่วโลก ซึ่งนำไปสู่การเปิดโลกทัศน์และจุดประกายความก้าวหน้าด้านเภสัชศาสตร์ศึกษาและวิชาชีพเภสัชกรรม เพื่อนำไปใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน ยกระดับบทบาทของสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ และส่งเสริมการสร้างเครือข่ายการพัฒนาการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์และวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับสากล นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา