Loading…

ภาควิชาชีวเคมีจัด Exit Presentation ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก University of Santo Tomas

2043 ครั้ง   16 กรกฎาคม 2564
เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-15.30 น. ตามเวลาประเทศไทย ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี และคณาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมีของคณะฯ เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงาน Exit Presentation & Student Presentation ของนักศึกษาแลกเปลี่ยนสาขาชีวเคมี จำนวน 15 คน จาก Faculty of Pharmacy, University of Santo Tomas ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจัดผ่านระบบ Cisco Webex Meetings ในโอกาสนี้ ผู้บริหารและคณาจารย์ของ Department of Biochemistry, Faculty of Pharmacy, University of Santo Tomas ซึ่งนำโดย Prof. Dr. Aleth Therese L. Dacanay (คณบดี) ได้ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานทางวิชาการและผลการฝึกอบรมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจากการเข้าร่วมโครงการฝึกอบรมวิชาชีพสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Biochemistry) ประจำปี 2564 ซึ่งจัดโดยภาควิชาชีวเคมี ระหว่างวันที่ 17 มิถุนายน - 16 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบ Microsoft Teams กิจกรรมประกอบด้วยการนำเสนอผลการเรียนรู้และฝึกอบรมจากการเข้าร่วมโครงการดังกล่าว การมอบเกียรติบัตร (Certificate of Completion) ผ่านระบบออนไลน์ การนำเสนอบทสรุปของโครงการโดยผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ การนำเสนอผลงานทางวิชาการของนักศึกษาทั้ง 5 กลุ่ม และปิดท้ายด้วยการกล่าวให้โอวาทและกล่าวขอบคุณในความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมวิชาชีพสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Biochemistry) ประจำปี 2564 จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี สำหรับในปี 2564 ได้จัดผ่านระบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดฝึกอบรมในด้านชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยน สาขาชีวเคมี อันเป็นการตอบสนองต่อการพัฒนาความเป็นนานาชาติของคณะฯ ผ่านความร่วมมือทางวิชาการกับมหาวิทยาลัยคู่ความร่วมมือในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์และความเป็นเลิศทางวิชาการของคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล และสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับสากล นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา