Loading…

เภสัชมหิดลร่วมประชุม The 9th SEAPHARM 2020

811 ครั้ง   28 ตุลาคม 2563
เมื่อวันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2563 ผู้บริหารและคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ หัวหน้าภาควิชาเภสัชกรรม เข้าร่วมการประชุมวิชาการ The 9th SEAPHARM 2020 (Virtual Meeting) ภายใต้การประชุม Investment Asia 2020 และ Thailand Lab International 2020 ซึ่งจัดในรูปแบบออนไลน์ โดยความร่วมมือของ 4 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล 2) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล 3) กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และ 4) ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) โดยในการประชุมครั้งนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ ’Economic Impact of Medical Genetic Testing on Clinical Application in Thailand’ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ปราโมทย์ ตระกูลเพียรกิจ ได้ร่วมบรรยายในหัวข้อ ’PGx Guildelines’ ด้วย การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านเภสัชพันธุศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์จากเทคโนโลยีถอดรหัสพันธุกรรมเน็กซ์เจเนอเรชั่น สถานการณ์ปัจจุบันและการนำเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ในแต่ละประเทศ อาทิ ประเทศไทย ลาว สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ เวียดนาม สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และกรีซ เป็นต้น ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์จากข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมจาก 100 Pharmacogenes โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ การนำเภสัชพันธุศาสตร์มาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการดูแลผู้ป่วย ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีนักวิจัยและผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายประเทศเข้าร่วมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในการวิเคราะห์ข้อมูลเภสัชพันธุศาสตร์ และนำเสนอผลการดำเนินงานวิจัยทางด้านเภสัชพันธุศาสตร์ของแต่ละประเทศอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา