น้ำยาบ้วนปากชนิดแกรนูลฟู่ของสารสกัดชาเขียวที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อในช่องปาก |
โดย: กรณิศ วิรานุวัตร, ชัชวาล ฐานมโนวงศ์ ปีการศึกษา: 2549 กลุ่มที่: 9 อาจารย์ที่ปรึกษา: มัลลิกา ชมนาวัง , ดวงดาว ฉันทศาสตร์ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ , นันทวัน บุณยะประภัศร ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม Keyword: น้ำยาบ้วนปาก, แกรนูลฟู่, สารสกัดชาเขียว, เชื้อแบคทีเรียในช่องปาก, ฤทธิ์การต้านเชื้อจุลินทรีย์, Mouthwash, Effervescent granule, Green tea extract, Oral Bacterial, Antimicrobial activity |
บทคัดย่อ: โครงการพิเศษนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะพัฒนาตำรับน้ำยาบ้วนปากแกรนูลฟู่สารสกัดจากกาก ชาเขียว (Camellia sinensis (L.) Kentze) ที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ Streptococcus mutans และ Streptococcus sanguinis ซึ่งเป็นเชื้อแบคทีเรียที่พบมากในช่องปาก และเป็น สาเหตุสำคัญของการก่อให้เกิดฟันผุ จากการทดสอบประสิทธิภาพของผงแห้งสารสกัดกากชาเขียว ในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อทั้ง 2 ชนิด ด้วยวิธี Agar dilution เพื่อหาความเข้มข้นของสาร สกัดกากชาเขียวที่เหมาะสมที่มีประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ พบว่าสารสกัดจากกากชาเขียวมี ประสิทธิภาพในการต้านเชื้อ S.mutans และ S.sanguinis ที่ความเข้มข้น 2 และ 4 มิลลิกรัมต่อ มิลลิลิตร ตามลำดับ เมื่อนำผงแห้งสารสกัดกากชาเขียวมาเตรียมเป็นแกรนูลฟู่ที่ความเข้มข้น 4 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตรด้วยวิธี Wet granulation โดยใช้ Citric acid, Tartaric acid และ Sodium bicarbonate ในอัตราส่วน 1:2:3.44 (โดยน้ำหนัก) และใช้ 75% Ethanol เป็นสารยึดเกาะ โดยมี thymol, menthol, peppermint oil, sorbitol, xylitol, Acesulfame-K เป็นส่วนประกอบในตำรับ จากการประเมินประสิทธิภาพในการต้านเชื้อและคุณสมบัติทางกายภาพของแกรนูลฟู่สารสกัด กากชาเขียวที่เตรียมได้ พบว่าแกรนูลฟู่นี้มีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ S.mutans และ S.sanguinis ที่ความเข้มข้น 0.9 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร และ 15 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ สำหรับผลการประเมินคุณสมบัติทางกายภาพ พบว่าแกรนูลฟู่มีการแตกตัวในน้ำที่ดี (ค่าเฉลี่ยของเวลาที่ใช้ในการแตกตัวเป็น 3.53 นาที) มีความชื้นต่ำ (%loss on drying เป็น 3.82% และ %moisture content เป็น 3.98%) และมีการไหลอยู่ในเกณฑ์ปานกลางถึงดี (มีค่า angle of repose เป็น 34.9o) ข |
abstract: This special project was aimed to develop effervescent granule mouthwash of spent green tea leaf (Camellia sinensis (L.) Kentze) extract that could inhibit the growth of Streptococcus mutans and Streptococcus sanguinis, the two most common bacteria found in oral which cause dental caries. By using agar dilution method, the effective concentration of green tea extract in effervescent granules was determined. The results show that green tea extract in dry powder could inhibit the growth of S .mutans and S. sanguinis at 2 mg/ml and 4 mg/ml, respectively. To formulate effervescent granule of 4 mg/ml green tea extract powder by wet granulation method, citric acid, tartaric acid, sodium bicarbonate at a ratio 1:2:3.44 (by weight) were employed by using 75% ethanol as a binder. Other additives included thymol, menthol, peppermint oil, sorbitol, xylitol, and Acesulfame-K. Subsequently, the granules were evaluated their antibacterial activity as well as their physical properties. From the results, it was found that the effervescent granules inhibited the growth of S. mutans and S. sanguinis at 0.9 mg/ml and 15 mg/ml, respectively. In addition, from physical property evaluation, the results indicate that the granules possessed good disintegration (an average of disintegration time in water was 3.53 minutes), low moisture content (%loss on drying was 3.82% and %moisture content was 3.98%), and fair-to-good flowing ability (angle of repose was 34.9o). |
. |