การพัฒนาตำรับอิมัลเจลซิริซินชะลอความแก

โดย: กรพัชร์ เยาวกุลพัฒนา, วันชนะ สุกุมารพันธุ    ปีการศึกษา: 2548    กลุ่มที่: 9

อาจารย์ที่ปรึกษา: ปลื้มจิตต์ โรจนพันธุ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ซิริซิน, อิมัลเจล, อิมัลเจลชะลอความแก่, รอยเหี่ยวย่น, Sericin, Emulgel, Emulgel for anti-aging, Antiwrinkle
บทคัดย่อ:
การพัฒนาตำรับอิมัลเจลซิริซินชะลอความแก่นี้เป็นโครงการพิเศษที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นทางเลือกในการใช้สารจากธรรมชาติพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางบำรุงผิว โดยการทดลองนี้เริ่มจากการเตรียมอิมัลเจลหลายๆตำรับแล้วนำไปทดสอบคุณสมบัติทางกายภาพและความคงตัวโดยใช้วิธี freeze and thaw cycles เพื่อคัดเลือกตำรับที่เหมาะสม จากนั้นนำตำรับที่ได้ไปวัดการปลดปล่อยของสารสำคัญ และนำไปวัดค่า absorbance เพื่อเป็นการหาปริมาณ content โดยเทียบกับ standard curve และวัดค่าความหนืด หลังจากนั้นนำไปทดสอบฤทธิ์ลดรอยเหี่ยวย่นในอาสาสมัคร โดยให้อาสาสมัครทาอิมัลเจลซิริซินและอิมัลเจลเบสบริเวณหางตาด้านขวาและด้านซ้าย ตามลำดับ ตอนเช้าและก่อนนอนเป็นเวลา 5 สัปดาห์ ด้วยวิธีการ single blind ประเมินผลโดยการวัดริ้วรอยเหี่ยวย่นและความชุ่มชื้นของผิวหนัง ผลการทดลองพบว่า เมื่อใช้อิมัลเจลเบสสามารถลดริ้วรอยและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังได้อย่างไม่มีนัยสำคัญ เมื่อใช้อิมัลเจลซิริซินพบว่า มีการลดลงของริ้วรอยได้อย่างมีนัยสำคัญและเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนังได้อย่างไม่มีนัยสำคัญ เมื่อทำการเปรียบเทียบระหว่างอิมัลเจลเบสและอิมัลเจลซิริซิน พบว่า อิมัลเจลซิริซินสามารถลดรอยเหี่ยวย่นได้ดีกว่าอิมัลเจลเบสอย่างมีนัยสำคัญและอิมัลเจลซิริซินสามารถเพิ่มความชุ่มชื้นของผิงหนังได้ดีกว่าอิมัลเจลเบสอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับความเชื่อมั่น 95% อย่างไรก็ตามในการประเมินความพึงพอใจของอาสาสมัครพบว่า ความพึงพอใจโดยรวมต่ออิมัลเจลซิริซินใกล้เคียงกับอิมัลเจลเบส
abstract:
The aim of this special project is to develop an anti-aging emulgel from natural resources as an alternative to produce skin care cosmetic. Various emulgel formulations were prepared, followed by testing the physical properties and stability by freeze and thaw cycles to select the suitable emulgel. The release of sericin from emulgel and the content were measured by using the absorbance value (compare with standard curve) and the viscosity was also evaluated. The efficacy testing in volunteers were conducted by using sericin emulgel and emulgel base. Both emulgels were daily applied on the end of the right eye skin and the left eye skin by single blind method in the morning and before bed time for 5 weeks. Statistical estimation is used to assess the antiwrinkle and moisturizing activities. The emulgel base showed insignificant antiwrinkle and moisturizing activities. Sericin emulgel exhibited significant antiwrinkle but showed insignificant in moisturizing activity. The comparison activities of sericin emulgel and emulgel base showed that sericin emulgel had significant effect in exhibiting wrinkle better than emulgel base but showed no significant in moisturizing activity at 95% confident interval. Anyhow, the overall satisfactory test of volunteers for sericin emulgel and emulgel base was also showed no significant difference.
.