การพัฒนาเคอร์คิวมินนาโนอิมัลชันโดยวิธีกลับวัฏภาคตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ

โดย: น.ส.เรวดี เลี่ยมอ๋อ , นายสุรัตน์ มณีจันสุข    ปีการศึกษา: 2556    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: อัญชลี จินตพัฒนกิจ , วราภรณ์ จรรยาประเสริฐ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: เคอร์คิวมิน, นาโนอิมัลชัน, Phase inversion temperature, Curcumin, Nanoemulsion, Phase inversion temperature
บทคัดย่อ:
เคอร์คิวมินเป็นสารที่มีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาและนามาใช้ในการรักษาโรคมากมาย แต่เนื่องจากเคอร์คิวมินเป็นสารที่มีคุณสมบัติในการละลายน้าต่า ทาให้ส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของตัวยา งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มการละลายของเคอร์คิวมินโดยพัฒนาเป็นตารับนาโนอิมัลชันโดยใช้วิธีใหม่ที่เรียกว่าวิธีการกลับวัฎภาคตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิโดยใช้Labrafac®และCremophor® RH40 เป็นวัฏภาคน้ามันและสารลดแรงตึงผิวตามลาดับ ทาการเตรียมนาโนอิมัลชันโดยการเติมน้าเย็นเพื่อลดอุณหภูมิของระบบลงอย่างรวดเร็วในขณะที่ระบบมีการจัดเรียงตัวเป็นไมโครอิมัลชันที่ช่วงอุณหภูมิที่เกิดการกลับวัฏภาคทาการศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการเตรียมนาโนอิมัลชันและประเมินสมบัติของนาโนอิมัลชันที่เตรียมได้ในด้านของขนาดอนุภาค จานวนอนุภาค การกระจายขนาดอนุภาคและประจุที่ผิว ความคงตัวทางกายภาพของตารับนาโนอิมัลชันเปล่าและเคอร์คิวมินนาโนอิมัลชันทาการศึกษาที่อุณหภูมิ 4,30 และ 40 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ และทาการศึกษาการปลดปล่อยยาโดยการจาลองสภาวะของสารละลายในกระเพาะอาหารและในลาไส้เล็กโดยใช้ dialysis membrane จากผลการวิจัยพบว่าการเพิ่มความเข้มข้นของสารละลายเกลือโซเดียมคลอไรด์ทาให้อุณหภูมิที่เกิดการกลับวัฏภาคลดลง การเติมน้าที่อุณหภูมิซึ่งเกิดการกลับวัฏภาคทันทีจะทาให้ได้นาโนอิมัลชันที่มีขนาดเล็กและมีการกระจายของขนาดอนุภาคแคบ การลดปริมาณสารลดแรงตึงผิว การเพิ่มปริมาณน้ามันและฟอสโฟไลปิดในตารับจะทาให้ได้นาโนอิมัลชันที่มีอนุภาคใหญ่ขึ้น การเก็บตารับไว้ในอุณหภูมิสูงและการเพิ่มปริมาณฟอสโฟไลปิดทาให้ความเสถียรของตารับลดลงด้วยกลไกOswald ripening และ coalescence ในการศึกษาการปลดปล่อยตัวยาพบว่าการเพิ่มปริมาณฟอสโฟไลปิดในตารับจะส่งผลให้เกิดการปลดปล่อยเคอร์คิวมินเพิ่มขึ้นซึ่งผลการศึกษาที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาเคอร์คิวมินนาโนอิมัลชันในรูปแบบยารับประทานที่เหมาะสมต่อไป
abstract:
Curcumin has shown many clinical pharmacological properties; nevertheless, it is low bioavailability owing to limited water solubility.Thus the objective of this study was to develop formulation of nanoemulsion to improve water solubility of curcumin by new method, namely phase inversion temperature (PIT) method using Labrafac® and Cremophor® RH40 as oil and surfactant, respectively. Nanoemulsion were prepared by formation of microemulsion at its PIT following with an irreversible shock inducing by fast cooling.The influences of various parameters on nanoemulsion formation were investigated.There properties were determined in terms of particle size, average count number, polydispersity index, and zeta potential.The physical stabilities of plain and curcumin-loaded nanoemulsion were studied at 4, 30 and 40C for 4 weeks. Finally, in vitro release study was performed in simulated gastrointestinal fluid using dialysis membrane method.The results indicated that increasing NaCl concentration decreased the PIT of system. Nanoemulsion with very small droplet size and narrow size distribution could be formed as a result of sudden shocking at PIT.The physical stability of both plain and curcumin-loaded nanoemulsion decreased with the increases of storage temperature and ratio of phospholipid. The instability mechanisms of the nanoemulsion were found to be Oswald ripening and coalescence. For in vitro release study, the release of curcumin from nanoemulsion increased with increasing phospholipid. This study thus contributes to develop oral dosage form of curcumin nanoemulsion in the future.
.