การทดสอบการเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุร่างกายของไคโตแซนในหลอดทดลอง

โดย: พรจันทร์ แซ่เอา, มนิศรา พัฒนาพรหมชัย    ปีการศึกษา: 2551    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: กอบธัม สถิรกุล ,    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ไคโตแซน, การเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุ, ออกซิเตตร้าซัยคลิน, chitosan, Mucoadhesive, oxytetracycline
บทคัดย่อ:
การศึกษาความสามารถในการเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุร่างกายเพื่อพัฒนาระบบนำส่งยาที่มีประสิทธิภาพสามารถทำได้หลายวิธี โดยวิธีที่ทำได้ง่ายวิธีหนึ่ง คือ การศึกษาในหลอดทดลอง เพื่อทำการประเมินคุณสมบัติการเกาะติดของไคโตแซนกับเยื่อบุ และศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเกาะติดของไคโตแซนในการทดลอง ไคโตแซนถูกนำมาศึกษาเนื่องจากมีคุณสมบัติในการเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุได้ดี โดยอาศัยเนื้อเยื่อบุกระเพาะหมูเป็นแบบจำลอง เริ่มจากการเตรียมตำรับไคโตแซนในสารละลายอะซิติกแอซิดที่ความเข้มข้นต่างๆ แล้ววัดคุณสมบัติในการเกาะติดโดยดูจากค่าการดูดกลืนแสงของยาออกซิเตตร้าซัยคลิน เพื่อใช้ในการคำนวณหาค่าเปอร์เซนต์ในการเกาะติด แล้วนำมาเปรียบเทียบกับตำรับที่เป็น negative control และตำรับcarbopol934(positive control) จากการทดลองพบว่าไคโตแซนมีคุณสมบัติในเกาะติดดีกว่าตำรับที่เป็น negative control และตำรับที่เป็น positive control โดยค่าเฉลี่ยเปอร์เซนต์การเกาะติดของตำรับไคโตแซน, carbopol, และ negative control คือ 65.10%±6.2, 48.51%±4.5, และ 13.05%±3.9 ตามลำดับ นอกจากนี้ ยังทำการวิเคราะห์ดูผลของปัจจัยต่างๆ ได้แก่ มวลโมเลกุล, degree of deacetylation, ความหนืด และความเข้มข้นของไคโตแซน ที่มีผลต่อการเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุร่างกาย ดังนั้นจะเห็นได้ว่าไคโตแซนมีประโยชน์ในการนำมาพัฒนาระบบนำส่งยาเนื่องจากมีความสามารถในการเกาะติดกับเนื้อเยื่อบุกระเพาะได้นานขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
abstract:
To design an effective drug delivery system with mucoadhesive function, several mucoadhesion tests were developed. One of the simple tests is a study in vitro method. Chitosan was selected because of its mucoadhesive property. The gastric mucoadhesive property of chitosan was evaluated by using a novel method in vitro. Factors influencing mucoadhesive property of chitosan were also studied. Gastric mucosa removed from a pig were used as membrane in the model. Different concentrations of chitosan were prepared in acetic acid solution. Mucoadhesive property was determined by measuring absorbance of oxytetracycline with UV spectrophotometer and calculating for percent of adhesion. Evaluation of mucoadhesive property was demonstrated by comparing its percent of adhesion with negative control and carbopol934 (as positive control). It was found that the mucoadhesive property of chitosan were superior to negative and positive control. Average percent of adhesion of chitosan, carbopol934, and negative control were 65.10%±6.2, 48.51%±4.5, and 13.05%±3.9, respectively. Factors possibly influencing mucoadhesive property of chitosan including molecular weight, degree of deacetylation, viscosity, and concentration of chitosan were investigated. In conclusion, chitosan appeared to be potentially useful for the effective drug delivery system because of its adhesion to the gastric mucosa for an significant period of time.
.