การศึกษาเบื้องต้นด้านคุณลักษณะทางกล้องจุลทรรศน์และกายภาพของวัตถุดิบสมุนไพร

โดย: วรินพัทธ์ เจริญผล, ธิริศรา จิรกรวงศ์    ปีการศึกษา: 2550    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: พร้อมจิต ศรลัมพ์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์

Keyword: ว่านนางคำ,Curcuma aromatica Salisb., Wan nang kham ,Curcuma aromatica Salisb.
บทคัดย่อ:
ว่านนางคำเป็นสมุนไพรไทยที่มีประสิทธิภาพมากชนิดหนึ่งมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Curcuma aromatica Salisb.วงศ์ Zingiberaceae ตำราไทยใช้เหง้าแก้ฟกช้ำบวม แก้มดลูกอักเสบ แก้ปวดท้องและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เป็นต้น มีการปลูกจำหน่ายในอุตสาหกรรมยาแผนโบราณอย่างแพร่หลายงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจุลทรรศน์ลักษณะและลักษณะทางกายภาพเบื้องต้นของว่านนางคำจากแหล่งปลูกจังหวัดอำนาจเจริญ สกลนคร และที่จำหน่ายในตลาดนัดจตุจักรจากจังหวัดน่าน พบว่าลักษณะภายนอกของว่านนางคำมีรูปร่างค่อนข้างกลมจนถึงยาวรี ขนาดโดยประมาณกว้าง 4-9 ซม.ยาว 5-20 ซม.และแขนงย่อยยาว 5-11 ซม.กายวิภาคของเหง้าสดพบชั้นของกาบใบแห้ง(scale),periderm,cortex,endodermoildและsteleมีระบบนำน้ำและอาหารแบบปฐมภูมิกระจายอยู่ทั้งใน cortex และ stele อาหารที่สะสมได้แก่เม็ดแป้ง Oleoresin และน้ำมันหอมระเหย ชิ้นเนื้อเยื่อที่พบเป็นสัดส่วนสูงในผงว่านนางคำได้แก่ parenchyma ที่สะสมอาหารซึ่งส่วนใหญ่เป็นเม็ดแป้งและพบเม็ดแป้งเดี่ยวกระจายอยู่ทั่วไป รูปร่างรีมีจงอย และ hilum ที่ปลายด้านแคบ ขนาดกว้างยาวประมาณ 34 *60 ไมครอนชิ้นส่วนอื่นที่พบบ้างได้แก่ vessel แบบ reticulate,scalariform และ spiralและพบ elongate lignified parenchyma ส่วนที่พบมากได้แก่ fiber ขนและกาบใบแห้งผลการศึกษาคุณลักษณะทางกายภาพพบว่าปริมาณความชื้น ปริมาณเถ้าและค่าสารสกัดของตัวอย่างจากจังหวัดอำนาจเจริญและสกลนครมีค่าใกล้เคียงกันและต่างจากตัวอย่างจากน่านเล็กน้อย loss on drying มีค่าเป็น 11.46,11.18และ 14.17%โดยน้ำหนัก total ash มีค่าเป็น4.96,5.56และ 7.94%โดยน้ำหนัก acid in soluble ash มีค่าเป็น 1.06,0.86และ 4.50% โดยน้ำหนักค่าสารสกัดน้ำเท่ากับ 18.21,19.86และ 28.91 % โดยน้ำหนักค่าสารสกัดเอธานอลเท่ากับ 4.38,4.58และ 6.16 % โดยน้ำหนัก ค่าสารสกัดเฮกเซนเท่ากับ 1.61,1.54และ 3.57 %น้ำหนักและค่าสารสกัดไดคลอโรมีเทน เท่ากับ 4.38,3.62และ 7.64% โดยน้ำหนักตามลำดับจากผลการทดลองสรุปได้ว่าคุณภาพของวัตถุดิบว่านนางคำน่าจะมีคุณภาพใกล้เคียงกัน ควรศึกษาตัวอย่างจากภาคต่างๆเพิ่มขึ้นเพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานของว่านนางคำสำหรับใช้ในอุตสาหกรรมยาจากสมุนไพรต่อไป
abstract:
Wan nang kham is one of the potentail Thai herb has been identified Curcuma aromatica Salisb (Zingiberaceae).Thai traditional healers used its rhizome to relieve many aliment such as bruise,uteritis,stomachache and peptic ulcer. Nawadays this plant is widely cultivate for commercial use in Thai traditional medicine. The objective of the present study was preliminary investigated for the microscopic and physical characters of Wan nang kham. Three samples of Wan nang kham rhizome were investigated in this study. Two samples were recived form Amnatcharoen,and Sakonnakhonprovince.Another one was brought from Chatuchak Sunday market which was collected from Nan province.Externaly,the main rhizome appeared to be round to oval in shape about 4-9 cm.wide and 5-20 cm long with lateral rhizome about 5-11 cm lomg The anatomy composed of scale,periderm,cortex,endodermoild and stele. Primary vascular bundles were found scattered in cortex and stele. The starch granules,oleoresin and volatile oil were identified as food storage. The abundant fragment of parenchymatous cell containing starch granules were found dominantly in the dried powder. Sample starch granules were also abundant; most of them were rounded to oval with hilum situated at the narrow end, 34-60 microns.The frangments of elongate lignified parenchyma,reticulate,scalariform vessel could be found and non-lignified fibers,trichomes and frangment of scale were scarcely found. For physical characters,the sample from Amnatcharoen and Sakonnakhon province were quite similar and slightly difference from Nan sample.They were loss on drying equal to 11.46,11.18and 14.17%w/w.total ash 4.96,5.56and 7.94%w/w,acid insoluble ash 1.06,0.86and 4.50%w/w,ethanoic extractive 4.38,4.58 and 6.16 %w/w,water extractive 18.21,19.86and 28.91 %w/w,hexane extractive1.61,1.54และ 3.57 %w/wand dichloromethane extractive 4.38,3.62and 7.64%w/w respectively. The present study could be concluded that the quality of Wan nang kham rhizomes from these sources are similar. More samples from differance parts of Thailand must be observed to be the specification of Wan nang kham for herbal medicine industry
.