การตั้งตำรับ Clindamycin Gel

โดย: อินทิยา เลิศสุทธิรัศมีวง,อัญชลี อารยชัยชาญ    ปีการศึกษา: 2541    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: พาณี บุณเสนอ    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
การศึกษาถึงชนิดและปริมาณของสารช่วยในตำรับที่มีผลต่อการปลดปล่อยของตัวยา คือ propylene glycol (PG), isopropyl alcohol (IPA) ทำหน้าที่เป็น solvent และ isopropyl myristate (IPM), oleic acid (OA) เป็น penetration enhancer โดยหาอัตราส่วนที่เหมาะสมของสารแต่ละตัว ที่ยา Clindamycin phosphate(CDM) สามารถละลายได้และผสมเป็นเนื้อเดียวกัน โดยอาศัยค่า total solubility(*total) ซึ่ง * ของ CDM คือ 13.02 เทียบกับ *total ของตำรับ พบว่าตำรับที่ประกอบด้วย 2% OA และ 2% IPM ผสมกับ IPA และ PG ในอัตราส่วนต่างๆ ได้ส่วนผสมที่ใสเป็นเนื้อเดียวกัน ในการหาชนิดและปริมาณสารก่อเจลที่เหมาะสมโดยการประเมินด้วยสายตา พบว่า 50% PVP/VA เป็นสารก่อเจลที่ให้ความหนืดเหมาะสม และลักษณะทางกายภาพดี มีความคงตัวดี หลังจากเก็บไว้เป็นเวลา 1 เดือนที่อุณหภูมิห้อง การศึกษาการวิเคราะห์ตัวยาจากตำรับ เป็นการศึกษาเพื่อหากระบวนการที่เหมาะสมในการวิเคราะห์หาปริมาณสารด้วย HPLC ได้ HPLC system ที่เหมาะสม คือ CDM ละลายใน mobile phase ฉีดเข้า C18column โดยใช้ mobile phase คือ 30%acetonitrile ใน phosphate buffer pH 5 จากการศึกษาการปลดปล่อยตัวยาจากตำรับภายนอก พบว่า ตำรับที่มีสารก่อเจลเมื่อเก็บตัวอย่างครบ 60 ชม. และ ตำรับที่ไม่มีสารก่อเจลเก็บตัวอย่าง 5 วัน ไม่สามารถวิเคราะห์ CDM ใน receptor phase ได้ นั่นคือความหนืดของตำรับไม่มีผลต่อการปลดปล่อยของตัวยา การที่ไม่สามารถวิเคราะห์หาปริมาณ CDM จาก receptor phaseได้ คิดว่าตัวยาถูกดูดซับไว้ที่ membrane เนื่องจาก membrane ที่ใช้ มีส่วนประกอบของกาวในด้านที่แปะผิวหนัง ทำให้diffusion range ยาวขึ้น ตัวยาจึงแพร่ผ่านออกมาได้ยาก จึงน่าจะมีการทดลองต่อไป โดยเปลี่ยน membrane เป็นชนิดอื่น ที่คาดว่าจะทำให้มีการปลดปล่อยของตัวยามาสู่ receptor phase ได้มากขึ้น
abstract:
The study aimed to achieve the ingredients for clindamycin phosphate (CDM) gel which controlled the release of drug into skin .The ingredients chosen were propylene glycol ( PG ), isopropyl alcohol ( IPA ) as the vehicles, isopropyl myristate (IPM) and oleic acid (OA) as the penetration enhancers. Various proportions of vehicles with total solubility parameters (*total) capabled to dissolve CDM in the gel was predicted.2 % concentration of both enhancers in these vehicles were the suitable proportion to produce the good quality of gel . Gellant suitable to increase the gel viscosity for up to one month and maintain the gel quality was 50% PVP/VA. pKa of CDM was determined to be 7.3 . The release of CDM from the gel was studied using Franz diffusion cell .CDM was analysed with HPLC , using C18 column and 30 % acetonitrile in phosphate buffer pH 5 as the mobile phase .The formulation using the gellant gave no CDM after 60 hr. However the formulation without gellant released no CDM either after 5 days . The result showed that the viscosity of the formulation did not control the release of CDM . The change of the membrane type was the suggested step to study the release.
.