ขนมลดโคเลสเตอรอล

โดย: กมลรัตน์ บุญประสม,ธงธรรม ฤทธิกุลสุทธิชัย    ปีการศึกษา: 2539    กลุ่มที่: 8

อาจารย์ที่ปรึกษา: สมพล ประคองพันธ์ , วิมล ศรีศุข , วัลลา ตั้งรักษาสัตย์    ภาควิชา: ภาควิชาเภสัชกรรม

Keyword: ,
บทคัดย่อ:
Cholestyramine เป็นเรซิน (strongly basic anion-exchange resin)ที่ไม่คงตัวที่อุณหภูมิสูงกว่า 150 องศาเซลเซียส มีคุณสมบัติในการจับกรดน้ำดี (Bile acid)เมื่อใช้รับประทานจะให้ผลในการลดการดูดซึมและลดระดับโคเลสเตอรอล (LDL-cholesterol) ฯลฯ ในทางเภสัชกรรมพบมีอยู่ในรูปของยาแขวนตะกอนหรือผงแห้งใช้ผสมกับอาหารหรือเครืองดื่มต่างๆ แต่เนื่องจาก cholestyramine มีกลิ่นคาวและรสชาติไม่ดี ผู้ป่วยมักจะไม่ให้ความร่วมมือในการประทานยาให้ครบตามระยะเวลาที่กำหนดในการศึกษานี้เป็นการพัฒนาสูตรขมนลดโคเลสเตอรอลซึ่งมีส่วนประกอบสำคัญ คือ cholestyramine โดยดัดแปลงจากสูตรขนมไทยที่ประชาชนคุ้นเคยและคำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องอุณหภูมิที่สามารถจะใช้ได้ในสูตร พบว่าขมน 3 ชนิด ที่สามารถดัดแปลงผสมเรซินนี้ (1 กรัม/ชิ้น) ลงในสูตรขนมได้ดี คือ ขนมกลีบลำดวน ขนมนางเล็ดรสกุ้งแห้ง และ snack bar รสกุ้งแห้ง โดยขนมทั้ง 3 ชนิดนี้ น่าจะมีความคงตัวดีที่อุณหภูมิห้อง(ความชื้นเท่ากับร้อยละ 2.04ม6.36และ7.62ตามลำดับ)ทำการตรวจสอบประสิทธิ์ภาพของเรซิน โดยการวิเคราะห์ความสามารถในการจับกับ anion (คลอไรด์)เมื่ออยู่ในขนมแต่ละชนิดเปรียบเทียบกับผงเรซินปกติ พบว่าเรซินในขนมทั้ง 3 ชนิด(คือขนมนางเล็ดรสกุ้งแห้ง ขนมกลีบลำดวน และ snack bar รสกุ้งแห้ง)สามารถจับคลอไรด์อิออนเพิ่มเติมได้ร้อยละ 70.54ม79.03และ80.24ของความสามารถของผงเรซินปกติตามลำดับ สำหรับการประเมินทางประสาทสัมผัสโดยใช้ Triangle test ในผู้ประเมินซึ่งเป็นนักศึกษาเภสัชศาสตร์ 10คน โดยทำการประเมิน 2 ครั้ง พบว่าในขนม 2ชนิด คือนางเล็ดรสกุ้งแห้ง และ snack bar รสกุ้งแห้งนั้น ผู้ประเมินไม่สามารถแยกขนมชนิดที่มีเรซินอยู่ออกจากชนิดที่ไม่มีเรซิน ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากกลิ่นกุ้งแห้งสามารถกลบกลิ่น รสของเรซินได้ ส่วนในขนมกลีบลำดวนนั้นผู้ประเมินสามารถแยกขนมที่มีเรซินออกจากชนิดที่ไม่มีเรซินได้ แม้ลักษณะภายนอกจะไม่แตกต่างกันก็ตาม แย่งไรก็ตามขนมทั้ง 3 ชนิดน่าจะมีแนวโน้มที่สามารถจะพัฒนาต่อไปให้เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคเพี่อผลิตจำหน่ายเชิงการค้าต่อไป
abstract:
Cholestyramine was a strongly basic anion-exchange resin which was stable at the temperature up to 150 C. It bound to bile acids and resulted in reducing cholesterol absorption and LDL-cholesterol level in plasma, etc. As in pharmaceutical preparations, cholestyramine was dispensed in the form of suspensions or dry powders to be mixed with foods or drinks. Due to its inferior flavour and the undesirable odor of amine-like, patient compliances were low after a period of time. In this study, developments of cholesterol reducing snack containing cholestyramine were carried out based on the familiar endigenous desserts or snacks of Thailand. Temperatures of the snack preparations were taken into connsiderations. It was found that 3 potential kinds of snack, which contained 1 g of the resin per piece, were as followed:-Kleeb-lamduan (KL), Nang-let (dried shrimp flavour) (NL), Snack bar (dried shrimp flavour) (SB). All the snacks should be quite stable at room temperature. The moisture contents of the snacks were 2.04, 6.36 and 7.62% for KL, NL and SB, respectively. The snacks effectiveness in reducing cholesterol was analyzed on the basis of the increase in the amount of chloride ion bound to the resin, using cholestyramine powder as a control. It was shown that the resin available in NL, KL, SB were able to exchange with the chloride ion in the percentage of 70.54, 79.03 and 80.24 of the dried powder, respectively. Triangle test was used in the sensory evaluation of the snacks among 10 Pharmacy students; the test was conducted twice among the same group of panelists. The students could not differentiate the taste of snacks (NL and SB) containing and not containing cholestyramine. But the taste of KL containing and not containing cholestyramine could be differentiated, although the appearances of both KL were similar. However the three snacks could be further developed for higher consuming acceptance before they could be produced commercially.
.